วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การศึกษาระบบงาน บริษัทเอ็น ไอ เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด

การศึกษาระบบงาน บริษัทเอ็น ไอ เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เอ็น.ไอ. เทยิ่น โชยิ
(ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร
44 อาคารศรีจุลทรัพย์ ทาวเวอร์ ชั้น 17 ถ। พระราม 1 รองเมือง ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (ประเทศไทย)


เอ็น.ไอ.เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ เอ็น.ไอ.เทยิ่น โชยิ ประเทศญี่ปุน ซึ่งเป็นผู้นำด้านการค้า Trading และ Converter บริษัทก่อตั้งโดยการร่วมมือกันระหว่างบริษัทเอ็น.ไอ.เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท นิชโชอีวาย จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนองต่อความต้องการของลูกค้าแพร่หลายทั่วโลก ภายใต้ concept ของบริษัทคือ CONVERTER, NETWORK एंड SPECIALITY


สายงานของธุรกิจ

ขาย, นำเข้าและส่งออกสินค้า ประเภทวัตถุดิบสิ่งทอ ( เท็กซ์ไทล์ ), ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า , วัตถุดิบเกี่ยวกับอุตสาหกรรม, ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับรถยนต์ทั้งผลิตภัณฑ์ภายในและภายนอก , เรซิน , ฟิล์ม เคมีภัณฑ์ , วัตถุดิบเกี่ยวกับการก่อสร้าง , ผลิตภัณฑ์หนังซึ่งเป็น man-made, อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกล และอื่นๆ อีกมากมาย


ฝ่ายงานภายในบริษัทแยกตามผลิตภัณฑ์

1. Administration (Account / Finance / System)

2. Textile & Garment

3. Industrial Product

4। Yarn & Fiber


การเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละส่วนงานหรือแต่ละฝ่ายขององค์กรนั้น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงคือ โปรแกรมทางด้านการวางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือเรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) คำว่า ERP นี้ความหมายทางทฤษฎีคือ เป็นการรวบรวมกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ตลอดจนเชื่อมโยงโปรแกรมประยุกต์ (Applications) ต่างๆ ของแต่ละส่วนงานเข้าเป็นระดับองค์กร (Enterprise) โดยมีข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพียงแห่งเดียว


เป้าหมายของ ERP

เพื่อรวบรวมแง่มุมทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) เชื่อมโยงข้ามส่วนงานต่างๆ เพื่อให้การใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน


โดยทั่วไปการดำเนินงานขององค์กรไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จะประกอบไปด้วยส่วนงาน 4 ส่วน

1. งานตลาดและขาย (Marketing and Sales) ประกอบด้วย การตลาด การรับคำสั่งซื้อ การสนับสนุนลูกค้า การพยากรณ์ยอดขาย และโฆษณา

2 งานผลิตและบริหารวัตถุ (Production and Materials Management) ประกอบด้วย การจัดซื้อ รับวัตถุดิบ ขนส่ง จัดลำดับกระบวนการผลิต ผลิต และบำรุงรักษาโรงงาน

3. งานบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance) ประกอบด้วย บัญชีการเงิน จัดสรรและควบคุมต้นทุน วางแผนและจัดทำงบประมาณ และบริหารกระแสเงินสด


4. งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ประกอบด้วย การรับสมัครและว่าจ้าง อบรม


ซอฟต์แวร์ที่บริษัท เอ็น।ไอ। เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำมาใช้ในองค์กร คือ


Business Software:
เป็นระบบที่ใช้สำหรับทำการประมวลผลเงินเดือนและค่าแรง ( รายได้ / รายหัก ) ที่จ่ายให้กับพนักงานเพื่อคำนวณเงินเดือน / ค่าแรงรายวัน / ค่าแรงรายชั่วโมง / ค่าแรงงานเหมา บันทึกรายได้ รายการหัก และ ค่าล่วงเวลา คำนวณภาษีแบบหัก ณ ที่จ่าย ประกันสังคม หลังจากที่ทำการประมวลผลเงินเดือนแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ส่งธนาคาร หากมีการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคาร สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ส่งสำนักงานประกันสังคม สามารถบันทึกข้อมูล ภงด। 1 ภงด. 1ก ลงแผ่นดิสก์ส่งสรรพากรได้ สามารถพิมพ์รายงานสรุปเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อลงบัญชีได้และสามารถพิมพ์หนังสือรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองการผ่านงานได้พร้อมทั้งสามารถเก็บยอดสะสม รายได้ รายหัก รวมทั้งวันลา ขาด สาย ของพนักงานทุกงวดไว้ทั้งปี


Infinium Software:
เป็นระบบที่นำมาใช้จัดการงานด้านระบบบัญชี ซึ่งครอบคลุมทั้งงานด้านการเงิน การขาย การตลาดและการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย

MM : Material Management การบริหารวัตถุดิบ
- OP : Oder Processing การขาย
- PO : Purchase Order การซื้อ
- IC : Inventory Control System ควบคุมสินค้าคงเหลือ


FM : Financial Management การบริหารการเงินการบัญชี
- AR : Account Receivable การบริหารลูกหนี้
- PL : Payable Payable การบริหารเจ้าหนี้
- FA : Fix Asset บริหารสินทรัพย์
- GL : General Ledger สมุดแยกประเภท

ข้อดีของ Infinium Software
1.มีการซับพอร์ตสกุลเงินต่างประเทศ
2.สามารถทำงานได้หลายระบบใน Software ตัวเดียว
3. ลดต้นทุนขององค์กร


ก่อนหน้านี้ บริษัท เอ็น.ไอ. เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ใช้ JDE Software เปลี่ยนเพราะ ไม่ซับพอร์ตสกุลเงินต่างประเทศและไม่รองรับกับระบบงานจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต


ในอนาคต บริษัท เอ็น.ไอ. เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด มี Plan เปลี่ยน Software ภายในองค์กรโดยมี Software ที่สนใจคือ
1. SAP B1
2. NAVISION
3. MOVEX

ที่จะมีการเปลี่ยน Software เพราะ
1.ธุรกิจสมัยนี้มีการแข่งขันกันมากขึ้น
2.ต้องการเพิ่มยอดขาย
3.ต้องการลดต้นทุน
4.ต้องการลดค่าเสียโอกาส



ขอขอบคุณ :

คุณ สุกัลยา นาคพลายพันธ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริษัทเอ็น ไอ เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด

กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ
และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ। ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันบับตั้งแตวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบคอมพิวเตอร์”หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็นการยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลันหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตาม มาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง


มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่

รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี

กรณีศึกษา : การโจมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

กรณีศึกษา : การโจมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

เมื่อเดือนเมษายน 2548 ลูกค้าธนาคารซิตี้แบงค์ได้รับอีเมลหลอกลวงเพื่อให้เชื่อมโยงเข้าไปยังเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน เว็บไซต์ที่ให้เชื่อมโยงไปนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ของธนาคารมาก ข้อความในอีเมลแจ้งให้ลูกค้าธนาคารเข้าไปยังเว็บไซต์เพื่อกรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลส่วนตัว รหัสบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน



คำถาม

1. การกระทำดังกล่าวเป็นเทคนิคการโจมตีแบบฟิชชิ่งอย่างไร จงอธิบาย


ตอบ :
คือ การกระทำความผิดด้วยการหลอกลวง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญบางอย่างของผู้อื่นไป อาทิ เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, หมายเลขพิน หรือบรรดาเลขหลายไอเดนติตี้อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล หรือรหัสที่เกี่ยวข้องกับ การเงิน การธนาคาร โดยผู้กระทำ Phisher จะส่งข้อความหลอกลวงนั้นผ่านทางอีเมล์บ้าง ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงิน หรือ ธนาคาร ที่หมายตา ทำทีแจ้งแก่ลูกค้า หลอกว่าทางบริษัท หรือธนาคาร มีปัญหาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการ ซ่อมแซม และรวบรวมข้อมูลที่เสียหาย จึงจำเป็นต้องขอทราบข้อมูลของลูกค้า ให้ลูกค้ารีบติดต่อกลับ หรือมอบข้อมูลเหล่านั้นกลับโดยเร็ว โดยให้เข้าไปที่เว็บไซท์ หรือบริการ Online ของบริษัท หรือธนาคารนั้น ๆ ตามลิงก์ที่แนบมาด้วยแล้วในอีเมล์


2. จงยกตัวอย่างกรณีศึกษาการโจมตีแบบฟิชชิ่งมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ :
๐ ทำเป็นรูปแบบของเว็ปไซต์ โดยเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นนั้นจะเป็นเว็ปไซต์ที่ เลียนแบบมาจากเว็ปไซต์ของสถาบันการเงินต่างๆ โดยบุคคลที่เข้าไปในเว็ปไซต์อาจหลงเชื่อว่าเป็นเว็ปไซต์ของสถาบันการเงินจริง จึงทำการกรอกข้อมูลของบัตรเครดิต ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ได้

๐ การหลอกล่อเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัล เช่น บริษัทแห่งหนึ่งส่งข้อความทาง E-mail แมสเซนเจอร์บ้างตามถนัด ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงินหรือ ธนาคาร ที่หมายตา (มีการเชื่องโยงถึงเว็บไซต์ปลอม) ทำทีแจ้งว่าท่านเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ที่สุดที่บริษัทเคยมีมา (เงินรางวัล บ้าน รถยนต์) รางวัลนั้นอาจเป็นสิ่งล่อใจให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวที่ใช้ระบุตัวตนของบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรประจำตัว IP แอดเดรสข้อมูลเหล่านั้นข้อมูลนั้นไป อาจนำไปทำธุรกรรมอะไรบางอย่างที่ส่งผลร้ายแก่ท่าน

กรณีศึกษา : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับการจัดการความรู้

กรณีศึกษา : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับการจัดการความรู้

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันว่า “ทรู” เป็นผู้นำในการให้บริการสื่อสารครบวงจร และเป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของทรู คือความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นการให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความสำคัญต่อ ทรู เป็นอย่างมาก ทรู จึงจัดทำ โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน (Customer Management) เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้


คำถาม

1. เป้าหมายในการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไรจงอธิบาย

ตอบ:
๐ เป้าหมาย ของบริษัทคือ การจัดการความรู้ True KM is aim to be a center of corporate information and establishing true knowledge sharing community
๐ ยุทธศาสตร์ ของบริษัทคือ ต้องการให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้า และการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของบริษัทจึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรและการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพในการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและการทำ KM ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บริษัททรูเจริญก้าวหน้า เป็นผู้นำในการให้บริการสื่อสารแบบครบวงจรต่อไป

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยี บล็อก (Blog หรือ “Weblog) จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและการเผยแพร่ความรู้ได้อย่าไร
ตอบ:
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ เช่น E-mail, E-card, KM web, E-Learning , E-book, ในด้านของบล็อก (Blog หรือ Weblog) สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้โดยการเขียนความรู้ลงไปในบล็อก(BlogหรือWeblog)เมื่อมีคนมาอ่านเขาก็จะได้ความรู้จากเนื้อหาที่อ่านในบล็อก (Blog หรือ Weblog) และคนที่อ่านก็สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และเมื่อมีคนทำหลายๆบล็อก (Blog หรือ Weblog) เรื่องราวความรู้ที่ใส่ลงไปก็จะหลากหลายยิ่งขึ้น ทำให้การเผยแพร่ความรู้กระจายได้กว้างขึ้นไม่จำกัดเฉพาะความรู้ในองค์การ

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย(Aircraft Surveillance System)

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย(Aircraft Surveillance System)

วิทยุการบินแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจหลักในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ และหนึ่งในภารกิจหลักคือ การให้บริการจราจรทางอากาศบริเวรสนามบินทุกแห่งของประเทศ รวมถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่กำลังจะเปิดใช้งานในอนาคต ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ในประเทศไทยที่มีขนาดกว้างใหญ่และมีเทคโนโลยีที่เพียบพร้อมและทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการใช้บริการของผู้โดยสารเพื่อเป็นการรองรับอากาศยานจำนวนมากในอนาคต วิทยุการบินฯ จึงวางแผนและดำเนินการเพื่อให้มีการบริการของเที่ยวบินต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดความล่าช้า (Deley)ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่สายการบินนานาชาติในส่วนของการบริหารภาคพื้น ซึ่งจะต้องอาศัยระบบติดตามอากาศยานที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบนี้สามารถติดตามอากาศยานได้ตลอดเวลาด้วยข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

วิทยุการบินฯจึงได้นำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีล่าสุดมาใช้สำหรับการบริหารและจัดการอากาศยาน รวมถึงยานพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ซึ่งระบบเป็นแบบบูรณาการ(System Integration)เพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Intelligence Ariport โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงโดยระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลและสร้างฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติ จึงสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุ การล่าช้าของอากาศยาน รวมถึงลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

การทำงานของระบบอุปกรณ์ ประกอบด้วย

๐ ระบบเรดาร์ปฐมภูมิ(Primary Surveillance Radar System : PSR )สำหรับการติดตามเป้าอากาศยานระยะภายในรัศมี 80 และ 250 ไมล์ทะเลจากสนามบินตามลำดับ

๐ ระบบเรดาร์ติดตามเป้าหมายบริเวณภาคพื้นสนามบิน (Advance Surface Movement Radar System)สำหรับติดตามเป้าอากาศยานและยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บริเวณโดยรอบสนามบินและบนสนามบิน

๐ ระบบควบคุมการสื่อสาร (Voice Communication Control System)สำหรับควบคุมระบบวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบิน

๐ ระบบะประมวลผลข้อมูลเรดาร์ (Radar Data Processing System)สำหรับการประมวลผลข้อมูลเรดาร์จากเรดาร์หลายๆสถานี เพื่อระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆรวมถึงการมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรในอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น

๐ระบบประมวลผลข้อมูลการบิน(Fight Data Processing System)ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลการบินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในการควบคุมจราจรทางอากาศ

๐ ระบบแสดงผลข้อมูล(Contronller Working Position)สำหรับแสดงตำแหน่และชื่อเรียกของอากาศยาน รวมถึงข้อมูลการบินที่ได้รับการประมวลผลจากระบบประมวลผลของข้อมูลการบิน

นอกจากนั้นระบบติดตามอากาศยานยังได้ทำการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าสนามบิน(Airfield Lighting System)และระบบสารสนเทศสนามบิน(Airport Information System : AIMS)ของบริษัทท่าอากาศยานไทย เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติอีกทั้งยังมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน(Emergency Tower)เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชะงัก



คำถาม

1. วิธีการพัฒนาระบบสาระสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภาระกิจหลักของวิทยุการบินฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว

ตอบ:
๐ การพัฒนาแบบดั้งเดิม(Tradititional SDLC Methodology)
เนื่องจากท่าอากาศยานในปัจจุบันยังไม่ได้รับความเป็นสากลมากนักจึงควรใช้ระบบการพัฒนาแบบดั้งเดิม
เพราะการพัฒนาแบบดั้งเดิมเป็นระบบของการควบคุมจราจรทางอากาศของไทยมีความจำเป็นต้องให้ระบบสอดคล้องกับที่ทั่วโลกใช้อยู่ โดยผู้ใช้บริการท่าอากาศยานของไทยมีมาจากหลากหลายประเทศซึ่งข้อมูลจะต้องให้สอดคล้องกันและตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้ ดั้งนั้นต้องมีการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน การพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมนี้สามารถกำหนดความต้องการไว้ อย่างละเอียดและมีรูปแบบชัดเจน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบที่มีการใช้เทคนิคซับซ้อนที่มีการกำหนดคุณลักษณะ ต่างๆ ไว้คงที่ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความต้องการอย่างมีแบบแผนเป็นทางการ และมีการควบคุมกระบวนในการสร้างระบบอย่างเข้มงวดรัดกุม

2. ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้หรือไม่จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ:
๐ การนำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานมาใช้สำหรับการบริหารและจัดการท่าอากาศยานรวมถึงพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงกัน โดยมีระบบคอมพิวเตอร์มาประมวลผลข้อมูลและสร้างฟังก์ชั่นการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติและสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุและการล่าช้าของอากาศยาน และมีผลกระทบทางด้านที่ดีต่อเจ้าหน้าที่คือช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

๐ ตัวอย่าง: ระบบควบคุมการสื่อสาร(Voice Communication Contron System)ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศกับนักบินดีขึ้น

๐ ตังอย่าง: ระบบประมวลผลข้อมูลเรดาร์(Radar Data Processing System)ช่วยระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆรวมถึงมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมจราจรทางอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : โซ่อุปทานของบริษัทเชฟรอน เทคซาโก

กรณีศึกษา : โซ่อุปทานของบริษัทเชฟรอน เทคซาโก

คำถาม

1.ระบบที่ใช้ในบซาโก จัดว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์การแบบขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาประกอบ

ตอบ

การขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) คือมีการขยายฟังก์ชันการทำงานของ ERP ให้มีการบูรณาการกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ทางบริษัทได้นำระบบ SAP ทำงานคู่กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real time) ณ।สถานีก๊าซ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผนระบบสาสนเทศในอนาคต


2.ประโยชน์ที่ทางบริษัทเชฟรอน เทคซาโกได้รับหลังจากการเปลี่ยนระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ

1. ผลกำไรของทางบริษัทเพิ่มขึ้น
2. การบริหารทรัพยากรคือ ก๊าซ ถูกควบคุมโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ทราบระดับของก๊าซ
3. มีการวางแผนดีขึ้น ทำให้ประหยัดแรงงานคน และทรัพยากรภายในองค์การ


3ท่านจะเสนอแนะแนวทางในการนำERPมาใช้ปฏิรูปองคืการธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

ตอบ

ในกรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงานหรือหลายแผนก รวมไปถึงมีสาขาต่างๆ อีกการนำระบบ ERP เข้ามาใช้นั้นจะช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจเป็นไปในทางเดียวกันซึ่งระบบ ERP จะช่วยเชื่อมโยงและประสารการทำงานของหน่วยงานหรือแผนก รวมไปถึงสาขาต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันให้มีรูปแบบการทำงานแบบเดียวกัน และยังจะช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ระบบยังสามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง อีกทั้งยังช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจด้านการบริหารได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างของบริษัทในประเทศไทยที่มีการนำระบบ ERP มาใช้

ตัวอย่างของบริษัทในประเทศไทยที่มีการนำระบบ ERP มาใช้

ตัวอย่างที่ 1 : ธุรกิจอะไหล่ยนต์

คำถาม
1. บริษัทมีวัตถุประสงค์อย่างรในการนำระบบ ERP มาใช้
ตอบ
บริษัทมีเป้าหมายในการจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ญี่ปุ่นทุกยี่ห้อ และได้มีการนำระบบ ERP มาใช้เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทในอนาคต และเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการบริหารคลังสินค้า มาตรฐานข้อมูลรหัสอะไหล่ยนต์ และความล่าช้าในการบริการให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้า

2. ยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการนำเอาระบบมาใช้และเมื่อใช้ระบบ ERP แล้วสามรถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
ตอบ
ปัญหาความล่าช้าในการบริการและการให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้า ซึ่งเมื่อมีการนำระบบ ERP มาใช้แล้ว ทำให้ผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนลดได้ทันทีโดยไม่ต้องรอวันถัดไป และยังสามารถตรวจดูยอดการสั่งซื้อของลูกค้าว่าตรงกับที่ตกลงไว้หรือไม่ นอกจากนี้ระบบยังสามารถแจ้งเตือนให้ลูกค้าและบริษัททราบหากยอดการสั่งซื้อยังไม่ถึงระดับที่กำหนด การทำงานต่างๆมีความสะดวกเพิ่มขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว





ตัวอย่างที่ 2 : ดันกิ้นโดนัท

คำถาม
1. การนำระบบ ERP มาใช้ช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
ตอบ
ระบบ ERP ถูกนำมาช่วยในการจัดการวัตถุดิบให้มีจำนวนพอเหมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละร้าน ซึ่งช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องมีของเหลือค้างสต็อก

2. ระบบ ERP ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ตอบ
ระบบ ERP ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเชื่อมโยงและเก็บข้อมูลของสาขาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ่ายการตลาดสามารถรับรู้ข้อมูลการขายของแต่ละร้านในช่วงเวลาต่างๆได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้สิ้นสุดในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถวางแผนกลยุทธ์และกำหนดรายการส่งเสริมการขายได้อย่างรวดเร็ว และนำข้อมูลมาช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์แนวโน้มและวางแผนการบริหารได้อย่างทันท่วงที