วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การศึกษาระบบงาน บริษัทเอ็น ไอ เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด

การศึกษาระบบงาน บริษัทเอ็น ไอ เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เอ็น.ไอ. เทยิ่น โชยิ
(ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางกรุงเทพมหานคร
44 อาคารศรีจุลทรัพย์ ทาวเวอร์ ชั้น 17 ถ। พระราม 1 รองเมือง ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 (ประเทศไทย)


เอ็น.ไอ.เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ เอ็น.ไอ.เทยิ่น โชยิ ประเทศญี่ปุน ซึ่งเป็นผู้นำด้านการค้า Trading และ Converter บริษัทก่อตั้งโดยการร่วมมือกันระหว่างบริษัทเอ็น.ไอ.เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท นิชโชอีวาย จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนองต่อความต้องการของลูกค้าแพร่หลายทั่วโลก ภายใต้ concept ของบริษัทคือ CONVERTER, NETWORK एंड SPECIALITY


สายงานของธุรกิจ

ขาย, นำเข้าและส่งออกสินค้า ประเภทวัตถุดิบสิ่งทอ ( เท็กซ์ไทล์ ), ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า , วัตถุดิบเกี่ยวกับอุตสาหกรรม, ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับรถยนต์ทั้งผลิตภัณฑ์ภายในและภายนอก , เรซิน , ฟิล์ม เคมีภัณฑ์ , วัตถุดิบเกี่ยวกับการก่อสร้าง , ผลิตภัณฑ์หนังซึ่งเป็น man-made, อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรกล และอื่นๆ อีกมากมาย


ฝ่ายงานภายในบริษัทแยกตามผลิตภัณฑ์

1. Administration (Account / Finance / System)

2. Textile & Garment

3. Industrial Product

4। Yarn & Fiber


การเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละส่วนงานหรือแต่ละฝ่ายขององค์กรนั้น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงคือ โปรแกรมทางด้านการวางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือเรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) คำว่า ERP นี้ความหมายทางทฤษฎีคือ เป็นการรวบรวมกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ตลอดจนเชื่อมโยงโปรแกรมประยุกต์ (Applications) ต่างๆ ของแต่ละส่วนงานเข้าเป็นระดับองค์กร (Enterprise) โดยมีข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพียงแห่งเดียว


เป้าหมายของ ERP

เพื่อรวบรวมแง่มุมทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) เชื่อมโยงข้ามส่วนงานต่างๆ เพื่อให้การใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน


โดยทั่วไปการดำเนินงานขององค์กรไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จะประกอบไปด้วยส่วนงาน 4 ส่วน

1. งานตลาดและขาย (Marketing and Sales) ประกอบด้วย การตลาด การรับคำสั่งซื้อ การสนับสนุนลูกค้า การพยากรณ์ยอดขาย และโฆษณา

2 งานผลิตและบริหารวัตถุ (Production and Materials Management) ประกอบด้วย การจัดซื้อ รับวัตถุดิบ ขนส่ง จัดลำดับกระบวนการผลิต ผลิต และบำรุงรักษาโรงงาน

3. งานบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance) ประกอบด้วย บัญชีการเงิน จัดสรรและควบคุมต้นทุน วางแผนและจัดทำงบประมาณ และบริหารกระแสเงินสด


4. งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ประกอบด้วย การรับสมัครและว่าจ้าง อบรม


ซอฟต์แวร์ที่บริษัท เอ็น।ไอ। เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำมาใช้ในองค์กร คือ


Business Software:
เป็นระบบที่ใช้สำหรับทำการประมวลผลเงินเดือนและค่าแรง ( รายได้ / รายหัก ) ที่จ่ายให้กับพนักงานเพื่อคำนวณเงินเดือน / ค่าแรงรายวัน / ค่าแรงรายชั่วโมง / ค่าแรงงานเหมา บันทึกรายได้ รายการหัก และ ค่าล่วงเวลา คำนวณภาษีแบบหัก ณ ที่จ่าย ประกันสังคม หลังจากที่ทำการประมวลผลเงินเดือนแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ส่งธนาคาร หากมีการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคาร สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ส่งสำนักงานประกันสังคม สามารถบันทึกข้อมูล ภงด। 1 ภงด. 1ก ลงแผ่นดิสก์ส่งสรรพากรได้ สามารถพิมพ์รายงานสรุปเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อลงบัญชีได้และสามารถพิมพ์หนังสือรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองการผ่านงานได้พร้อมทั้งสามารถเก็บยอดสะสม รายได้ รายหัก รวมทั้งวันลา ขาด สาย ของพนักงานทุกงวดไว้ทั้งปี


Infinium Software:
เป็นระบบที่นำมาใช้จัดการงานด้านระบบบัญชี ซึ่งครอบคลุมทั้งงานด้านการเงิน การขาย การตลาดและการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย

MM : Material Management การบริหารวัตถุดิบ
- OP : Oder Processing การขาย
- PO : Purchase Order การซื้อ
- IC : Inventory Control System ควบคุมสินค้าคงเหลือ


FM : Financial Management การบริหารการเงินการบัญชี
- AR : Account Receivable การบริหารลูกหนี้
- PL : Payable Payable การบริหารเจ้าหนี้
- FA : Fix Asset บริหารสินทรัพย์
- GL : General Ledger สมุดแยกประเภท

ข้อดีของ Infinium Software
1.มีการซับพอร์ตสกุลเงินต่างประเทศ
2.สามารถทำงานได้หลายระบบใน Software ตัวเดียว
3. ลดต้นทุนขององค์กร


ก่อนหน้านี้ บริษัท เอ็น.ไอ. เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ใช้ JDE Software เปลี่ยนเพราะ ไม่ซับพอร์ตสกุลเงินต่างประเทศและไม่รองรับกับระบบงานจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต


ในอนาคต บริษัท เอ็น.ไอ. เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด มี Plan เปลี่ยน Software ภายในองค์กรโดยมี Software ที่สนใจคือ
1. SAP B1
2. NAVISION
3. MOVEX

ที่จะมีการเปลี่ยน Software เพราะ
1.ธุรกิจสมัยนี้มีการแข่งขันกันมากขึ้น
2.ต้องการเพิ่มยอดขาย
3.ต้องการลดต้นทุน
4.ต้องการลดค่าเสียโอกาส



ขอขอบคุณ :

คุณ สุกัลยา นาคพลายพันธ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริษัทเอ็น ไอ เทยิ่น โชยิ (ประเทศไทย) จำกัด

กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ
และยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ। ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันบับตั้งแตวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบคอมพิวเตอร์”หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็นการยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลันหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตาม มาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง


มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่

รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี

กรณีศึกษา : การโจมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

กรณีศึกษา : การโจมตีแบบฟิชชิ่งลูกค้าธนาคาร

เมื่อเดือนเมษายน 2548 ลูกค้าธนาคารซิตี้แบงค์ได้รับอีเมลหลอกลวงเพื่อให้เชื่อมโยงเข้าไปยังเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน เว็บไซต์ที่ให้เชื่อมโยงไปนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ของธนาคารมาก ข้อความในอีเมลแจ้งให้ลูกค้าธนาคารเข้าไปยังเว็บไซต์เพื่อกรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลส่วนตัว รหัสบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน



คำถาม

1. การกระทำดังกล่าวเป็นเทคนิคการโจมตีแบบฟิชชิ่งอย่างไร จงอธิบาย


ตอบ :
คือ การกระทำความผิดด้วยการหลอกลวง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญบางอย่างของผู้อื่นไป อาทิ เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, หมายเลขพิน หรือบรรดาเลขหลายไอเดนติตี้อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล หรือรหัสที่เกี่ยวข้องกับ การเงิน การธนาคาร โดยผู้กระทำ Phisher จะส่งข้อความหลอกลวงนั้นผ่านทางอีเมล์บ้าง ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงิน หรือ ธนาคาร ที่หมายตา ทำทีแจ้งแก่ลูกค้า หลอกว่าทางบริษัท หรือธนาคาร มีปัญหาเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ขณะนี้อยู่ใน ระหว่างการ ซ่อมแซม และรวบรวมข้อมูลที่เสียหาย จึงจำเป็นต้องขอทราบข้อมูลของลูกค้า ให้ลูกค้ารีบติดต่อกลับ หรือมอบข้อมูลเหล่านั้นกลับโดยเร็ว โดยให้เข้าไปที่เว็บไซท์ หรือบริการ Online ของบริษัท หรือธนาคารนั้น ๆ ตามลิงก์ที่แนบมาด้วยแล้วในอีเมล์


2. จงยกตัวอย่างกรณีศึกษาการโจมตีแบบฟิชชิ่งมา 2 ตัวอย่าง

ตอบ :
๐ ทำเป็นรูปแบบของเว็ปไซต์ โดยเว็ปไซต์ที่จัดทำขึ้นนั้นจะเป็นเว็ปไซต์ที่ เลียนแบบมาจากเว็ปไซต์ของสถาบันการเงินต่างๆ โดยบุคคลที่เข้าไปในเว็ปไซต์อาจหลงเชื่อว่าเป็นเว็ปไซต์ของสถาบันการเงินจริง จึงทำการกรอกข้อมูลของบัตรเครดิต ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ได้

๐ การหลอกล่อเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัล เช่น บริษัทแห่งหนึ่งส่งข้อความทาง E-mail แมสเซนเจอร์บ้างตามถนัด ไปยังลูกค้าของสถานบันการเงินหรือ ธนาคาร ที่หมายตา (มีการเชื่องโยงถึงเว็บไซต์ปลอม) ทำทีแจ้งว่าท่านเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลใหญ่ที่สุดที่บริษัทเคยมีมา (เงินรางวัล บ้าน รถยนต์) รางวัลนั้นอาจเป็นสิ่งล่อใจให้ท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวที่ใช้ระบุตัวตนของบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรประจำตัว IP แอดเดรสข้อมูลเหล่านั้นข้อมูลนั้นไป อาจนำไปทำธุรกรรมอะไรบางอย่างที่ส่งผลร้ายแก่ท่าน

กรณีศึกษา : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับการจัดการความรู้

กรณีศึกษา : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับการจัดการความรู้

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันว่า “ทรู” เป็นผู้นำในการให้บริการสื่อสารครบวงจร และเป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของทรู คือความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นการให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความสำคัญต่อ ทรู เป็นอย่างมาก ทรู จึงจัดทำ โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน (Customer Management) เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้


คำถาม

1. เป้าหมายในการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และยุทธศาสตร์ของบริษัทเกี่ยวข้องกันอย่างไรจงอธิบาย

ตอบ:
๐ เป้าหมาย ของบริษัทคือ การจัดการความรู้ True KM is aim to be a center of corporate information and establishing true knowledge sharing community
๐ ยุทธศาสตร์ ของบริษัทคือ ต้องการให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้า และการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของบริษัทจึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรและการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพในการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและการทำ KM ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บริษัททรูเจริญก้าวหน้า เป็นผู้นำในการให้บริการสื่อสารแบบครบวงจรต่อไป

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยี บล็อก (Blog หรือ “Weblog) จะสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและการเผยแพร่ความรู้ได้อย่าไร
ตอบ:
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ เช่น E-mail, E-card, KM web, E-Learning , E-book, ในด้านของบล็อก (Blog หรือ Weblog) สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้โดยการเขียนความรู้ลงไปในบล็อก(BlogหรือWeblog)เมื่อมีคนมาอ่านเขาก็จะได้ความรู้จากเนื้อหาที่อ่านในบล็อก (Blog หรือ Weblog) และคนที่อ่านก็สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และเมื่อมีคนทำหลายๆบล็อก (Blog หรือ Weblog) เรื่องราวความรู้ที่ใส่ลงไปก็จะหลากหลายยิ่งขึ้น ทำให้การเผยแพร่ความรู้กระจายได้กว้างขึ้นไม่จำกัดเฉพาะความรู้ในองค์การ

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย(Aircraft Surveillance System)

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย(Aircraft Surveillance System)

วิทยุการบินแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจหลักในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ และหนึ่งในภารกิจหลักคือ การให้บริการจราจรทางอากาศบริเวรสนามบินทุกแห่งของประเทศ รวมถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่กำลังจะเปิดใช้งานในอนาคต ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ในประเทศไทยที่มีขนาดกว้างใหญ่และมีเทคโนโลยีที่เพียบพร้อมและทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการใช้บริการของผู้โดยสารเพื่อเป็นการรองรับอากาศยานจำนวนมากในอนาคต วิทยุการบินฯ จึงวางแผนและดำเนินการเพื่อให้มีการบริการของเที่ยวบินต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดความล่าช้า (Deley)ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่สายการบินนานาชาติในส่วนของการบริหารภาคพื้น ซึ่งจะต้องอาศัยระบบติดตามอากาศยานที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบนี้สามารถติดตามอากาศยานได้ตลอดเวลาด้วยข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

วิทยุการบินฯจึงได้นำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีล่าสุดมาใช้สำหรับการบริหารและจัดการอากาศยาน รวมถึงยานพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ซึ่งระบบเป็นแบบบูรณาการ(System Integration)เพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Intelligence Ariport โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงโดยระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลและสร้างฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติ จึงสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุ การล่าช้าของอากาศยาน รวมถึงลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

การทำงานของระบบอุปกรณ์ ประกอบด้วย

๐ ระบบเรดาร์ปฐมภูมิ(Primary Surveillance Radar System : PSR )สำหรับการติดตามเป้าอากาศยานระยะภายในรัศมี 80 และ 250 ไมล์ทะเลจากสนามบินตามลำดับ

๐ ระบบเรดาร์ติดตามเป้าหมายบริเวณภาคพื้นสนามบิน (Advance Surface Movement Radar System)สำหรับติดตามเป้าอากาศยานและยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บริเวณโดยรอบสนามบินและบนสนามบิน

๐ ระบบควบคุมการสื่อสาร (Voice Communication Control System)สำหรับควบคุมระบบวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบิน

๐ ระบบะประมวลผลข้อมูลเรดาร์ (Radar Data Processing System)สำหรับการประมวลผลข้อมูลเรดาร์จากเรดาร์หลายๆสถานี เพื่อระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆรวมถึงการมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรในอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น

๐ระบบประมวลผลข้อมูลการบิน(Fight Data Processing System)ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลการบินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในการควบคุมจราจรทางอากาศ

๐ ระบบแสดงผลข้อมูล(Contronller Working Position)สำหรับแสดงตำแหน่และชื่อเรียกของอากาศยาน รวมถึงข้อมูลการบินที่ได้รับการประมวลผลจากระบบประมวลผลของข้อมูลการบิน

นอกจากนั้นระบบติดตามอากาศยานยังได้ทำการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าสนามบิน(Airfield Lighting System)และระบบสารสนเทศสนามบิน(Airport Information System : AIMS)ของบริษัทท่าอากาศยานไทย เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติอีกทั้งยังมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน(Emergency Tower)เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชะงัก



คำถาม

1. วิธีการพัฒนาระบบสาระสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภาระกิจหลักของวิทยุการบินฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว

ตอบ:
๐ การพัฒนาแบบดั้งเดิม(Tradititional SDLC Methodology)
เนื่องจากท่าอากาศยานในปัจจุบันยังไม่ได้รับความเป็นสากลมากนักจึงควรใช้ระบบการพัฒนาแบบดั้งเดิม
เพราะการพัฒนาแบบดั้งเดิมเป็นระบบของการควบคุมจราจรทางอากาศของไทยมีความจำเป็นต้องให้ระบบสอดคล้องกับที่ทั่วโลกใช้อยู่ โดยผู้ใช้บริการท่าอากาศยานของไทยมีมาจากหลากหลายประเทศซึ่งข้อมูลจะต้องให้สอดคล้องกันและตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้ ดั้งนั้นต้องมีการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน การพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมนี้สามารถกำหนดความต้องการไว้ อย่างละเอียดและมีรูปแบบชัดเจน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบที่มีการใช้เทคนิคซับซ้อนที่มีการกำหนดคุณลักษณะ ต่างๆ ไว้คงที่ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความต้องการอย่างมีแบบแผนเป็นทางการ และมีการควบคุมกระบวนในการสร้างระบบอย่างเข้มงวดรัดกุม

2. ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้หรือไม่จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ:
๐ การนำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานมาใช้สำหรับการบริหารและจัดการท่าอากาศยานรวมถึงพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงกัน โดยมีระบบคอมพิวเตอร์มาประมวลผลข้อมูลและสร้างฟังก์ชั่นการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติและสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุและการล่าช้าของอากาศยาน และมีผลกระทบทางด้านที่ดีต่อเจ้าหน้าที่คือช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

๐ ตัวอย่าง: ระบบควบคุมการสื่อสาร(Voice Communication Contron System)ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศกับนักบินดีขึ้น

๐ ตังอย่าง: ระบบประมวลผลข้อมูลเรดาร์(Radar Data Processing System)ช่วยระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆรวมถึงมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมจราจรทางอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : โซ่อุปทานของบริษัทเชฟรอน เทคซาโก

กรณีศึกษา : โซ่อุปทานของบริษัทเชฟรอน เทคซาโก

คำถาม

1.ระบบที่ใช้ในบซาโก จัดว่าเป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์การแบบขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาประกอบ

ตอบ

การขยายขีดความสามารถ (Extended ERP) คือมีการขยายฟังก์ชันการทำงานของ ERP ให้มีการบูรณาการกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ทางบริษัทได้นำระบบ SAP ทำงานคู่กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real time) ณ।สถานีก๊าซ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผนระบบสาสนเทศในอนาคต


2.ประโยชน์ที่ทางบริษัทเชฟรอน เทคซาโกได้รับหลังจากการเปลี่ยนระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ

1. ผลกำไรของทางบริษัทเพิ่มขึ้น
2. การบริหารทรัพยากรคือ ก๊าซ ถูกควบคุมโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ทราบระดับของก๊าซ
3. มีการวางแผนดีขึ้น ทำให้ประหยัดแรงงานคน และทรัพยากรภายในองค์การ


3ท่านจะเสนอแนะแนวทางในการนำERPมาใช้ปฏิรูปองคืการธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

ตอบ

ในกรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงานหรือหลายแผนก รวมไปถึงมีสาขาต่างๆ อีกการนำระบบ ERP เข้ามาใช้นั้นจะช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจเป็นไปในทางเดียวกันซึ่งระบบ ERP จะช่วยเชื่อมโยงและประสารการทำงานของหน่วยงานหรือแผนก รวมไปถึงสาขาต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันให้มีรูปแบบการทำงานแบบเดียวกัน และยังจะช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ระบบยังสามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง อีกทั้งยังช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจด้านการบริหารได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างของบริษัทในประเทศไทยที่มีการนำระบบ ERP มาใช้

ตัวอย่างของบริษัทในประเทศไทยที่มีการนำระบบ ERP มาใช้

ตัวอย่างที่ 1 : ธุรกิจอะไหล่ยนต์

คำถาม
1. บริษัทมีวัตถุประสงค์อย่างรในการนำระบบ ERP มาใช้
ตอบ
บริษัทมีเป้าหมายในการจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ญี่ปุ่นทุกยี่ห้อ และได้มีการนำระบบ ERP มาใช้เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทในอนาคต และเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการบริหารคลังสินค้า มาตรฐานข้อมูลรหัสอะไหล่ยนต์ และความล่าช้าในการบริการให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้า

2. ยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนการนำเอาระบบมาใช้และเมื่อใช้ระบบ ERP แล้วสามรถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
ตอบ
ปัญหาความล่าช้าในการบริการและการให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้า ซึ่งเมื่อมีการนำระบบ ERP มาใช้แล้ว ทำให้ผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนลดได้ทันทีโดยไม่ต้องรอวันถัดไป และยังสามารถตรวจดูยอดการสั่งซื้อของลูกค้าว่าตรงกับที่ตกลงไว้หรือไม่ นอกจากนี้ระบบยังสามารถแจ้งเตือนให้ลูกค้าและบริษัททราบหากยอดการสั่งซื้อยังไม่ถึงระดับที่กำหนด การทำงานต่างๆมีความสะดวกเพิ่มขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว





ตัวอย่างที่ 2 : ดันกิ้นโดนัท

คำถาม
1. การนำระบบ ERP มาใช้ช่วยให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
ตอบ
ระบบ ERP ถูกนำมาช่วยในการจัดการวัตถุดิบให้มีจำนวนพอเหมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละร้าน ซึ่งช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องมีของเหลือค้างสต็อก

2. ระบบ ERP ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
ตอบ
ระบบ ERP ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเชื่อมโยงและเก็บข้อมูลของสาขาต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ่ายการตลาดสามารถรับรู้ข้อมูลการขายของแต่ละร้านในช่วงเวลาต่างๆได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้สิ้นสุดในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถวางแผนกลยุทธ์และกำหนดรายการส่งเสริมการขายได้อย่างรวดเร็ว และนำข้อมูลมาช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์แนวโน้มและวางแผนการบริหารได้อย่างทันท่วงที

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ “นกแอร์”

กรณีศึกษา : กลยุทธ์การบริหารสายการบินราคาประหยัดในแบบของ “นกแอร์”
(รายละเอียดศึกษาได้จากวารสาร Eworld ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2548 )


สายการบินนกแอร์ เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติไทย โยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กลยุทธ์ที่นกแอร์นำมาใช้มีดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 : การบินระยะสั้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่ให้เครื่องบินสามารถบินอยู่มนอากาศมากที่สุดเพื่อให้เกิดรายได้ ถ้าบินยิ่งมาก ค่าเฉลี่ยต้นทุนของเครื่องบินก็จะต่ำลง
กลยุทธ์ที่ 2 : การใช้เครื่องบินประเภทเดียว นกแอร์ใช้เครื่องบินโบอิ้ง 737-400 แบบเดียว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการดูแลรักษาเครื่องบิน และการฝึกอบรมพนักงาน
กลยุทธ์ที่ 3 : การจำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายพนักงานในการให้บริการ และสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กลยุทธ์ที่ 4 : การสำรองที่นั่งได้ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่นๆ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก
กลยุทธ์ที่ 5 : การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช้าก็จะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้นกแอร์ได้ใช้ระบบไอทีที่เรียกว่า Revenue Management System มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขาย
กลยุทธ์ที่ 6 : สายการบินราคาประหยัด เป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยการงดให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม หากลูกค้าบางท่านต้องการ นกแอร์ก็มีบริการในราคาที่เหมาะสมด้วย
กลยุทธ์ที่ 7 : เอาต์ซอร์ส เป็นการใช้พาร์ตเนอร์มาให้บริการแทน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของพนักงานที่ต้องให้บริการ เช่น คอลล์เซ็นเตอร์
กลยุทธ์ที่ 8 : การเพิ่มรายได้จากส่วนอื่นๆ นกแอร์เลือกใช้กระดาษและเครื่องพิมพ์ Boarding Pass ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากระดาษธรรมดา แต่ก็สามารถเพิ่มรายได้จากการขายโฆษณาด้านหลัง Boarding Pass ได้
กลยุทธ์ที่ 9 : การลดต้นทุนด้วยการใช้ไอที นกแอร์ได้นำไอทีเข้ามาช่วยการดำเนินงานทุกส่วนทั้งระบบฟรอนต์เอนด์และแบ็กเอนด์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นงานแบบแมนนวลลง
กลยุทธ์ที่ 10 : การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง



คำถาม

1. สายการบินนกแอร์มีการนำไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไรบ้าง
• นกแอร์ได้นำไอทีเข้ามาช่วยการดำเนินงานทุกส่วนทั้งระบบฟรอนต์เอนด์และแบ็กเอนด์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนและงานที่เป็นงานแบบแมนนวล
• ใช้ระบบไอทีที่เรียกว่า Revenue Management System มาช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขาย
• การจำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายพนักงานในการให้บริการ และสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
• การสำรองที่นั่งได้ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากสายการบินราคาประหยัดอื่นๆ ลูกค้าสามารถจองที่นั่งผ่านเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก



2. จากกรอบแนวคิดของไวส์แมน สายการบินนกแอร์มีการใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ในด้านใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
• กลยุทธ์ด้านราคา (Cost) เช่น กลยุทธ์การตั้งหลายราคา โดยจะตั้งราคาต่ำกว่าหากลูกค้ามีการวางแผนการเดินทางและจองตั๋วล่วงหน้า ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจช้าก็จะต้องซื้อตั๋วในราคาที่สูงขึ้น กลยุทธ์สายการบินราคาประหยัด เป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยการงดให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม หากลูกค้าบางท่านต้องการ นกแอร์ก็มีบริการในราคาที่เหมาะสมด้วย
• กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ( Innovation ) เช่น การจำหน่ายตั๋วเครื่องบินออนไลน์ การสำรองที่นั่งผ่านเว็บไซต์
• กลยุทธ์ด้านพันธมิตร ( Alliance ) เช่น การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นกแอร์มุ่งให้บริการที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสาร สร้างความประทับใจเพื่อลูกค้าจะได้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างระบบสารสนเทศกับความได้เปรียบในการแข่งขัน

ตัวอย่างระบบสารสนเทศกับความได้เปรียบในการแข่งขัน

ตัวอย่างที่ 1 : บริษัท แคททิพิลลาร์ (Caterpilar : CAT) กับระบบสารสนเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
บริษัทแคททิพิลลาร์ หรือ CAT ตั้งอยู่ที่รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจเครื่องจักรในการก่อสร้างชั้นนำระดับโลก ตัวอย่างสินค้า เช่น รถแทร็กเตอร์ รถแบ็คโฮ ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2542 บริษัทต้องพบกับปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรงจากคู่แข่งที่สำคํญอย่างโคมัตซึ (Komatsu) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำรถแทร็กเตอร์เกลี่ยดินออกขายในสหรัฐอเมริกาด้วยราคาที่ต่ำกว่าบริษัทถึง 40% ทำให้ CAT ต้องตัดสินใจตัดราคาลง ประกอบกับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ มีการประท้วงด้านแรงงานเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้สถานการณ์ของบริษัทเลวร้ายลงไป ผลประกอบการของบริษัทในปี พ.ศ. 2528 ขาดทุนสะสมถึง 953 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทจึงตัดสินใจปิดโรงงาน ให้พนักงานออกและตัดค่าใช้จ่าย แต่การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้กลับไม่ได้ผลเพราะส่วนแบ่งตลาดลดลงและขาดทุนเพิ่มขึ้น
เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้บริหารจึงตัดสินใจนำไอทีมาแก้ปัญหา เนื่องจากมองเห็นว่าเป็นเพียงแนวทางเดียวที่สามารถแก้ปัญหาได้ โดยในระยะแรกมีการนำโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในบริษัทซึ่งใช้เวลา 8 ปีและใช้การลงทุนถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระบบที่ CAT นำมาใช้ในโรงงานต่างๆ เช่น
· หุ่นยนต์ (Robots)
· ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (Computer – Aided Design : CAD)
· ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (Computer – Aided Manufacturing : CAM)
· ระบบอื่นๆ เช่น ระบบวางแผนและบริหารการผลิต (Manufacturing Resource Planning : MRPII) ระบบจัดซื้อ (Purchasing System) และระบบโลจิสติกส์ (Logistics System) สิ่งที่ CAT ได้รับจากการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้มาใช้ คือ
- สามารถลดสินค้าที่ต้องจัดเก็บในคลังได้ 60% และประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายล้านเหรียญสหรัฐ
- กระบวนการผลิตงานขึ้น
- ทำการปิดโรงงานหรือคลังสินค้าใดที่มีค่าใช้จ่ายสูง
- เวลาในการผลิตสินค้าลดลงจาก 45 วัน เป็น 10 วัน
- การส่งสินค้าได้ลูกค้าได้ตรงเวลาเพิ่มขึ้น 70%
นอกจากนั้นบริษัทยังนำระบบระบบจัดการซ่อมบำรุงและจัดหาชิ้นส่วนทดแทนมาใช้กับตัวแทนขาย (Dealers) และลูกค้า (Customer) ซึ่งระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถหาชิ้นส่วนให้กับลูกค้าได้รวดเร็วขึ้นและช่วยให้สินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่ต่ำ
สำหรับระบบงานด้านไอที่ที่สำคัญอื่นๆ เช่น
· ทำการเชื่อมโยง (Global Network) เทอร์มินัล 7,000 เครื่อง เข้ากับพนักงาน 50,000 คนและตัวแทนขาย 180 รายใน 1,000 แห่ง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผ่านไฟเบอร์ออปติกและดาวเทียม และเป็นการรองรับงานที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) อินเตอร์เน็ต ระบบงานสื่อสารอื่นๆรวมถึงกิจกรรมต่างๆด้านอินทราเน็ต
· ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information System : EIS) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ หาแนวโน้ม และปริมาณการดำเนินงานของตัวแทนขาย
· ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) สำหรับตัวแทนขายและลูกค้า
· ระบบอินทราเน็ต (Intranet) โดยพนักงานของ CAT ประมาณ 95% สามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์การได้
ในปี ค.ศ. 1993 บริษัท CAT พลิกสถานการณ์กลับกลายมาเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งกว่าคู่แข่งขัน สามารถควบคุมตลาดเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้างในสหรัฐอเมริกาได้มากกว่า 30% และถึงแม้ว่าบริษัทสมารถขายสินค้าในตลาดต่างประเทศได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมด แต่ยังสมารถรักษางานและโรงงานในสหรัฐอเมริกาได้ ผลจากความพยายามของบริษัททำให้ได้รับรางวัล “Excellence in IS” จาก Information Week’s 1991 และมีผลต่อคู่แข่งขันรายใหญ่อย่างโคมัตซึเปลี่ยนกลยุทธ์จากรถเกลี่ยดินเพื่อเลี่ยงการชนกับ CAT
ด้วยชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีด้านเครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง บริษัทให้ลิขสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้า “Caterpilar” กับบริษัทที่ผลิตสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อแจ็คเก็ตและรองเท้า ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเครื่องแต่งกายของคนงาน แต่ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างภาพลักษณ์ของเครื่องแต่งกายว่าเหมาะกับผู้ใส่ที่มีบุคลิกแข็งแกร่งบึกบึนเหมือนรถแบคโฮ สินค้าดังกล่าวกลับได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น ทำให้ยอดขายเสื้อผ้าสูงถึงปีละ 35,000 ล้านบาทและยอดขายรองเท้าถึงปีละ 8 ล้านคู่ (Turban, et al.,2001:75)

คำถาม
1. คู่แข่งที่สำคัญของบริษัทแคททิพิลลาร์คือบริษัทใด
· บริษัทโคมัตซึ ( Komastu ) ประเทศญี่ปุ่น

2. ระบบสารสนเทศช่วยให้บริษัทได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไร
· สามารถลดสินค้าที่ต้องจัดเก็บในคลังและประหยัดค่าใช้จ่าย กระบวนการผลิตง่ายขึ้น เวลาในการผลิตลดลง ส่งสินค้าได้ตรงเวลาเพิ่มขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆระหว่างบริษัท ตัวแทนขาย และ ลูกค้าทางอินเตอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น พนักงานเข้าถึงข้อมูลขององค์การได้




ตัวอย่างที่ 2 : ร้านเซเว่น – อีเลฟเว่น ( 7-eleven ) ในประเทศญี่ปุ่น

บริษัทอิโตะ โยคาดะ ( Ito-Yokada ) เป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรได้สูงสุดในธุรกิจค้าปลีกของญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2517 บริษัทซื้อลิขสิทธิ์การทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อแบบค้าปลีก ( 7-eleven ) จากบริษัทเซาเธิร์น คอร์เปอร์เรชัน (Southern Corporation) ที่ตั้งอยู่ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกาและเปิดร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-eleven) ร้านแรกในญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม 2517 กิจการของบริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและได้ขยายสาขาเป็น 5,000 ร้านทั่วญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันเซเว่น-อีเลฟเว่น ที่เป็นบริษัทแม่ซึ่งก็คือ บริษัทเซาเธิร์น คอร์เปอร์เรชัน ได้ทำการขยายเครือข่ายออกไปเช่นกัน แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จนัก ทำให้บริษัทมีหนี้สินจำนวนมากจนในกระทั่งปี พ.ศ. 2533 บริษัทอิโตะ โยคาดะ ได้เข้าซื้อกิจการ 70% ของบริษัทเซาเธิร์น คอร์เปอร์เรชัน
ในช่วงที่ เซเว่น-อีเลฟเว่น ในสหรัฐอเมริการประสบปัญหาและสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนั้น เซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศญี่ปุ่นกลับสามารถทำกำไรได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายหรือคิดเป็นกำไร 680 ล้านเหรียญของยอดขาย 1.44 พันล้านดอลลาร์ และเป็นกำไรที่มากกว่ากำไรของเซเว่น-อีเลฟเว่นประเทศอื่น อะไรที่ทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จอย่างมาก ในขณะที่บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกากำลังจะล้มละลาย คำตอบก็คือ บริษัทอิโตะ โยคาดะ ใช้ระบบสารสนเทศในการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
บริษัทอิโตะ โยคาดะ ลงทุนในระบบสารสนเทศ 200 ล้านเหรียญดอลลาร์สำหรับร้านค้าย่อยของเซเว่น-อีเลฟเว่นในช่วงปี 2533 โดยมีเป้าหมาย คือ
1) ค้นพบให้ได้ว่าใครเป็นลูกค้าของร้านและลูกค้ามีความต้องการอะไร
2) พัฒนาระบบติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้า
ระบบสารสนเทศนี้จะวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า ซึ่งพนักงานขายหน้าร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น จะทำการบันทึกข้อมูลของลูกค้า เช่น เพศ และคาดคะเนอายุทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า สำหรับข้อมูลอื่นๆ อย่างเช่น ประเภทสินค้า จำนวนสินค้า ราคาสินค้า ตำแหน่งที่ตั้งของร้าน เวลาที่ซื้อ จะถูกนำเข้าระบบอัตโนมัติ ด้วยวิธีนี้ทำให้บริษัททราบว่า ใครซื้ออะไรที่ไหนและเวลาใดของวัน ทำให้สามารถติดตามและวิเคราะห์ความชอบของลูกค้าได้ นอกจากนั้นพนักงานขายในร้านยังบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ลูกค้าอยากจะซื้อแต่ไม่มีจำหน่ายในร้าน ด้วยวิธีนี้ช่วยให้ทางร้านสามารถเลือกสิ้นค้าเข้าร้านและมีจำนวนสินค้าที่เหมาะสมและยังสามารถปรับปรุงดัดแปลงสินค้าหรือผลิตสินค้าเป็นพิเศษกับความต้องการของลูกค้า
นอกนี้เซเว่น-อีเลฟเว่น ยังมีระบบสารสนเทศที่ช่วยให้ข้อมูล ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดของทางร้านเป็นอย่างดี ด้วยระบบสารสนเทศที่เรียกว่า “Time-Distribution”ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของลูกค้า ทำให้ทางร้านรู้ว่าความต้องการสินค้าของลูกค้าแต่ละแห่งและความต้องการในช่วงเช่าและบ่ายแตกต่างกัน ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้จัดการร้านสามารถเลือกสินค้ามาวางในช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากทางร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น แต่ละร้านมีพื้นที่อย่างจำกัดและพื้นที่มีราคาแพง ระบบจึงช่วยให้ เซเว่น-อีเลฟเว่น ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น (Turban, et al., 2001)

คำถาม
1. ปัจจัยใดที่ทำให้ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ
· ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศญี่ปุ่นใช้ระบบสารสนเทศในการมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

2. เหตุใดสารสนเทศเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเช้าและบ่ายจึงมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศญี่ปุ่น
· เพราะ สารสนเทศเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเช้าและบ่าย ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้จัดการร้านสามารถเลือกสินค้ามาวางในช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างเหมาะสมเนื่องจากทางร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น แต่ละร้านมีพื้นที่อย่างจำกัดและพื้นที่มีราคาแพง ระบบจึงช่วยให้ เซเว่น-อีเลฟเว่น ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น







ตัวอย่างที่ 3 : ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ของบริษัทไฟเซอร์ ( Pfizer Pharmaceutical Company )

สืบเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ บริษัทผลิตยาต่างๆมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งนอกจากจะจัดจำหน่ายยาแล้วยังรวบรวมและให้ข้อมูลด้านสุขภาพกับลูกค้าด้วย การจัดการด้านดูแลสุขภาพทำให้บริษัทยาต้องเปลี่ยนแนวทางในการทำธุรกิจ โดยในอุตสาหกรรมยาจะมีการเคลื่อนเข้าสู่การบริหารองค์ความรู้ ( Knowledge Management ) หรือความสามารถในการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในเชิงกลยุทธ์ บริษัทยาจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญและเป็นการเพิ่มคุณค่าของการบริการให้กับลูกค้า
บริษัทไฟเซอร์ ( Pfizer ) ได้นำระบบการขาย ( Sales-force Automation ) มาใช้ โดยระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถให้ข้อมูลกับแพทย์เกี่ยวกับราคา ผลข้างเคียง และประสิทธิผลของยา บริษัททำการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับซัพพลายเออร์และคู่ค้าของบริษัท รวมถึงการเชื่อมโยงห้องทดลองวิจัยของบริษัทผ่านทางเครือข่าย ( Private Network ) ที่เรียกว่า “VendorGate” เข้ากับคู่สัญญาณทั่วโลก (Gordon & Gordon, 1999: 443)

คำถาม
1. การที่พนักงานขายมีความรู้เกี่ยวกับผลข้างคียงและประสิทธิผลของยา มีความสำคัญต่อบริษัทไฟเซอร์ ( Pfizer Pharmaceuticals ) อย่างไร
· การที่พนักงานขายมีความรู้เกี่ยวกับผลข้างคียงและประสิทธิผลของยา ทำให้พนักงานขายสามารถให้ข้อมูลกับลูกค้าได้อย่างถูกต้อง บริษัทมีความน่าเชื่อถือและเป็นการกระตุ้นความต้องการสินค้าของลูกค้าได้

2. บริษัทไฟเซอร์มีการเพิ่มคุณภาพของการบริการให้กับลูกค้าอย่างไร
· มีการนำระบบการขาย ( Sales-force Automation ) มาใช้ โดยระบบนี้ช่วยให้ตัวแทนขายสามารถให้ข้อมูลกับแพทย์เกี่ยวกับราคา ผลข้างเคียง และ ประสิทธิผลของยา
· บริษัททำการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับซัพพลายเออร์และคู่ค้าของบริษัท รวมถึงการเชื่อมโยงห้องทดลองวิจัยของบริษัทผ่านทางเครือข่าย ( Private Network ) ที่เรียกว่า “VendorGate” เข้ากับคู่สัญญาณทั่วโลก ทำให้บริษัทสามารถติดต่อและให้บริการกับลูกค้าได้อย่างทั่วถึง

กรณีศึกษา : การใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญที่บริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส

กรณีศึกษา : การใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญที่บริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส(American Express)

ในปัจจุบัน ตัวอย่างของงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Arificial intelligence) ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ระบบ Authoriszer’s Assistant – ระบบฐานความรู้ที่บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส นำเข้ามาช่วยงานของเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบงานดังกล่าวเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ที่สามารถพิจาณาอนุมัติวงเงินบัตรเครดิตได้อย่างสมบูรณ์แบบถูกนำมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้งานด้วยเหตุผลหลายประการ
บัตรเครดิตของอเมริกัน เอ็กซ์เพรส จะแตกต่างจากบัตรเครดิตอื่น ๆ คือจะไม่มีการจำกัดวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้าแต่ละคร และลูกค้าจะต้องจ่ายเงินคืนแบบเต็มยอดทุกครั้งที่มีการจัดเก็บ ดังนั้นจึงต้องมีการพิจาณาอนุมัติวงเงินทุกครั้งสำหรับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต (ในขณะที่บัตรเครดิตอื่นๆจะมีวงเงินบัตรเครดิตจำกัด และลูกค้าสามารถเลือกจ่ายคืนเพียงยอดเงินขั้นต่ำประมาณ 5 – 10 % ของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตร)
ก่อนที่จะใช้ระบบดังกล่าว บริษัทพบว่ามีการนรำบัตรไปใช้ในทางที่ผิดและการอนุมัติการใช้จ่ายแต่ละครั้งไม่ได้กระทำบนพื้นฐานของการตัดสินใจที่ดีเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้บริษัทต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายไปหลายร้อยดอลล่าร์ นอกจากนั้นระบบเดิมยังล่าช้าและให้ผลลัพธ์จากากรตัดสินใจที่ไม่แน่นอน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว พนักงานระบบใช้ระบบประมวลธุรกรรม (Transaction Proessing facility : TPF) ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องไอบีเอ็ม (IBM) พร้อมทั้งการพิจารณาของตนเองในการอนุมัติยอดการใช้จ่ายแต่ละครั้ง โดยค้นหาข้อมูลการใช้จ่ายที่ผ่านมาของลูกค้าแต่ละคนซึ่งมีเป็นจำนวนมากจากฐานข้อมูลไอเอ็มเอส (IMS) ที่อยู่ในเครื่อง
ในปี 1984 ผู้บริหารของบริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ได้ตัดสินใจที่จะปรับปรุงระบบการอนุมัติวงเงินใหม่ เมื่อระบบผู้เชี่ยวชาญถูกกำหนดให้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบจำลองเบื้องต้นของระบบใหม่ – ระบบต้นแบบ (Prototype) – ในเวลาประมาณ 1 ปี ระบบใหม่ดังกล่าวเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญที่ใช้งานชนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องไอบีเอ็ม (IBM) ที่ใช้เดิม เพื่อดึงดูดข้อมูลจากลูกค้าจากฐานข้อมูลไอเอ็มเอส (IMS) ที่มีอยู่แล้วมาประกอบการตัดสินใจของระบบ
ในการซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตแต่ละครั้ง เมื่อทางร้านค้าติดต่อบริษัทให้มีการพิจารณาอนุมัติยอดการใช้จ่าย ระบบผู้เชี่ยวชาญจะไปดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลมาอย่างรวดเร็ว ประเมินผล และตัดสินใจ หรือให้คำแนะนำ ว่าควรจะอนุมัติยอดการใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ ปัจจัยหลักที่ระบบใช้การพิจารณาประกอบด้วย ยอดค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้ชำระ (ยอดที่ปรากฏในแจ้งหนี้ล่าสุด) ประวัติการใช้จ่ายที่ผ่านมาพฤติกรรมในการซื้อสินค้า และปัจจัยสิ่งที่เกี่ยวข้อง หากมีการแจ้งเตือนถึงความไม่ชอบมาพากลจากระบบเกิดขึ้น ระบบจะขอให้ร้านค้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมของลูกค้า เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการระบุตัวตนของลูกค้า หรือเลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น
ประมาณ 1 ใน 4 ของธุรกรรมทั้งหมดที่พิจารณาด้วยระบบ Authoriszer’s Assistan ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้จนกระบวนการโดยไม่จำเป็นต้องใช้การพิจารณาของมนุษย์อนุมัติให้กับร้านค้าได้โดยตรง แต่สำหรับธุรกรรมที่เหลืออีก 3 ใน 4 ระบบจะส่งผ่านการตัดสินใจให้เจ้าหน้าที่ คำแนะนำที่จะใช้ในการพิจารณาอนุมัติหรือปฎิเสธ และข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หากเหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของระบบ เจ้าหน้าที่ก็สามารถใช้การตัดสินใจของตนเองแทนได้
เมื่อเจ้าหน้าที่และระบบผู้เชี่ยวชาญทำงานร่วมกันในการตัดสินใจ ระบบสามารถลดเวลาที่ใช้ในการประมวลผลลงได้ 20 % และลดยอดหนี้เสียลงได้ถึง 50 %เพื่อที่จะพัฒนาฐานความรู้ (Knowledge Base) ดังกล่าว ผู้พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญใช้แนวทางของการใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆเป็นพื้นฐาน (Rule – Base) ดังกล่าว ผู้พัฒนาระบบจะต้องสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ทำงานดีที่สุด 5 คนจากเมืองฟอร์ดเลาเดอร์เดล รัฐฟลอริดาและสร้างฐานความรู้ที่มีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาถึง 520 ข้อ หลังจากที่มีการปรับแก้ระบบ กฎเกณฑ์ในการฐานความรู้ได้โดยขยายออกไปจนมีจำนวน 800 ข้อ ผู้จัดการแผนกพิจารณาอนุมัติวงเงินบัตรเครดิตกล่าวว่า “เราเริ่มต้นจากสถานการณ์ที่มีจำนวนจำกัดที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าบางกลุ่มหรือบางกรณีก่อน แล้วจึงขยายขอบเขตออกดไปจนสามารถครอบคลุมทุกสนถานการณ์ได้”
ปัจจุบันนี้ ระบบ AuthorisZer’s Assistant ยังคงใช้งานอยู่ และสนุบสนุนของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 300 คนทั่วโลก ฐานความรู้ของระบบถูกปรับแก้ปรับปรุงอยู่ตลอดเวลานอกจากการให้บริการด้านบัตรเครดิต บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ยังให้บริการด้านการเงินอีกหลากหลายรูปแบบ รวมถึง กองทุนการเงินและการประกันในทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายนั้น เป็นช่วงเวลาที่บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรส และสาขาทั่วโลกประสบกับความยากลำบากทางด้านการเงิน เหตุผลหนึ่งก็คือการพัฒนาระบบสารสนเทศ – รวมถึงระบบ Authoriszer’s Assisstant ด้วย – และมีการบูรณาการระบบที่ใช้ในหลายแผนกเข้าด้วยกัน บริษัทอเมริกัน เอ็กซ์เพรสเป็นบริษัทที่มีความสนใจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(ที่มา : Paker & Case , 1993)

คำถาม

1. ระบบ Authoriszer’s Assistant ช่วยปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอของบริษัท อเมริกันเอ็กซ์เพส อย่างไร
- สามารถช่วยงานของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เพื่อให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบงานดังกล่าวเป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถพิจรณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างสมบูรณ์แบบถูกนำมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้งานด้วยเหตุผลหลายประการ

2. จงบอกข้อดีที่ระบบ Authoriszer’s Assistant ที่ถูกนำมาใช้ประเมินพฤติกรรมในการซื้อสินค้าในระหว่างการตัดสินใจเพื่อพิจารณาอนุมัติวง หรือให้คำแนะนำ
- สามารถดำเนินการได้จนจบกระบวนการโดยไม่จำเป็นต้องใช้การพิจารณาของมนุษย์ร่วมด้วย

3.ท่านคิดว่าระบบ Authoriszer’s Assistant ช่วยสนับสนุนการบริการลูกค้าหรือไม่ จงให้เหตุผลประกอบ
- ช่วยสนับสนุนการบริการลูกค้าจะไม่มีการจำกัดวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้าของแต่ละคนและลูกค้าจะต้องจ่ายเงินคืนแบบเต็มยอดทุกครั้งที่มีการเรียกเก็บ

4. ข้อมูลที่ได้จากระบบ Authoriszer’s Assistant จะถูกใช้แผนกลงทุนและประกันของบริษัทได้อย่างไร และข้อมูลจากแผนกส่งเสริมการลงทุนและประกันจะถูกใช้ในการให้คำแนะนำของระบบ Authoriszer’s Assistant ได้อย่างไร
- ระบบ Authoriszer’s Assistant สามารถดำเนินการได้จนจบกระบวนการโดยไม่จำเป็นต้องใช้การพิจารณาของมนุษย์ร่วมด้วย ต่างจากระบบเครือข่ายนิวรอน (Neuron Network) และข้อมูลจากแผนกส่งเสริมการลงทุนและประกันจะถูกใช้ในการให้คำแนะนำของระบบ Authoriszer’s Assistant โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องเลย เพราะระบบสามารถดำเนินการได้จนจบกระบวนการโดยไม่จำเป็นต้องใช้การพิจารณาของมนุษย์ร่วมด้วย

5.ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neuron Network) จะช่วยกันปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างไร และจะถูกนำมาใช้ในแผนกส่งเสริมการลงทุนและประกันได้อย่างไร
- ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neuron Network) เป็นระบบที่ไม่ได้เลียนแบบความฉลาดของมนุษย์ทั้งหมดแต่จะช่วยประมวลผลหลักๆ และไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และระบบเครือข่ายนิวรอน (Neuron Network) นำมาใช้ในแผนกส่งเสริมการลงทุนและประกันได้โดยหาผลลัพธ์จากระบบเครือข่ายนิวรอน โดยมีการตัดสินใจของมนุษย์มาตัดสินใจอีกทีหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทเฮิร์ตซ์

กรณีศึกษา ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่บริษัทเฮิร์ตซ์

1.การกำหนดอัตราค่าเช่ารถแต่ละประเภทต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้าง
- พิจารณาจาก สารสนเทศเกี่ยวกับสถานที่ ช่วงเทศกาลที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การสนับสนุน ข้อมูลคู่แข่งขัน รวมถึงพฤติกรราของลูกค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากจึงต้องการอาศัยระบบ มาช่วยในการตัดสินใจ


2.เพราะเทตุใด บริษัทเฮิร์ตซ์ จึงนำเอาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงมาใช้
- เพราะสามารถสร้างทางเลือกในการตัดสินใจ และมีความสำคัญด้านเชิงกลยุทธ์ได้รวดเร็ว สามารถเข้าถึงข้อมูลในรายละเอียดเป็นระดับลงมาได้รวมถึงความสามารถในการดึงเอาข้อมูลจาก Data Warehouse มาใช้ช่วยวิเคราะห์ของผู้บริหารระดับสูง เพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วยในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไป

คำถามท้ายบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง

คำถามท้ายบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง

1 อธิบายความหมายของ ESS ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหาร ระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน


2 ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
- ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ


3 ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบเป็นอย่างไร
- 1 ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
-2 ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
-3 เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
-4 สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
-5 พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร6 มีระบบรักษาความปลอดภัย


4 Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้อย่างไร
- เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้


5 ESS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
- 1 ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
-2 ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง
-3 ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EISจะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย

กรณีศึกษา ระบบสนับสนุนนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

กรณีศึกษา ระบบสนับสนุนนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

1 การตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านของบุคคลโดยทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ท่านคิดว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพัก ที่ไหน เมื่อใด และมีรูปแบบอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่ เพราะเหตุใด
- มีความจำเป็น เนื่องจากการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคารบ้านพักเป็นส่วนๆ และเมื่อนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ (SHMA) ทำให้สามารถวิเคราะห์งบประมาณที่มีอยู่และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององคืการ อีกทั้งระบบยังสามารถวิเคราะห์ว่ามีเศรษฐกิจรอบๆกองทับและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยู่ ในขณะนั้น เช่น พิจารณาว่ามีบ้านพักในกองทัพเช่าได้เพียงใด อีกทั้งในกองทัพมีทหารที่มียศถึง 20 ขั้น นายทหารแต่ละยศต่างๆ มีความต้องการที่แตกต่างกัน ยิ่งยศสูงเท่าใดจำเป้นตะจ้องมีบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น และในขณะเดียวกัน อาคารบ้านพักมีอยู่หาขนาด คือ จากขนาดห้องห้องเดียวไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอน ขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา และการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 หน่วยต้องใช้เวลานาน การนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (SHMA) จึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความถูกต้องและยังช่วยลดระยะเวลาในการทำงานในส่วนนี้ของกองทัพได้


2. องค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้าง
- 1) ฐานข้อมูล (Database)
- Off-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพ
- On-post Data : ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหาร
-2) ฐานแบบจำลอง (Model Base)
- Regional Economic Model (RECOM) for the Area: เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆ
- Modified Segment Housing Market Analysis (MSHMA) : เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data

บทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

คำถามท้ายบทที่ 7

1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หมายถึง การตัดสินใจเป็นบทบาทของผู้บริหารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การการมีสารสนเทศที่ดีและเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาทางเลือกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จึงกล่าวถืงระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DecisionSupport System :DSS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์ประกอบหลัก
1) การใช้ความคิดประกอบเหตุผลเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบแยกแยะและกำหนดรยละเอียดของปัญหาหรือโอกาส
2) การออกแบบเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้
3)การคัดเลือกเป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับปัยหาและสถารการณ์มากที่สุด4) การนำไปใช้เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจแล้วนำไปปฏิบัติและติดตามผลของการปฏิบัติว่ามีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใดและจะต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร5) การตรวจสอบประสิทธิภาพในการตัดสินใจ เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจว่าเป็นอย่างไรหากมีข้อผิดพลาดสามารถเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อหาเลือกเลือกใหม่อีกครั้ง


2. ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
- 1.สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
-2. สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
-3. สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่มได้
-4.สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกันหรือปัญหาแบบต่อเนื่อง
-5. สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
-6. สนับสนุนการตัดสินใจหลากหลายรูปแบบ
-7. สามารถปรับเข้ากับข้อมูลให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้มีความยืดหยุ่นสูง
-8. สามารถใช้งานได้ง่าย ด้วยภาษที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ
-9. เพิ่มประสิทธิผลในการตัดสินใจ ทั้งในด้านความถูกต้อง แม่นยำ ความรวดเร็ว และคุณภาพของการตัดสินใจ
-10.มีการใช้แบบจำลองต่างๆช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ11สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายแหล่งทั้งในองค์กรและนอกองค์กร


3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไรบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
- ระบบผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ จะทำการตัดสินใจเองเป็นส่วนใหญ่ขอบเขตของปัญหาจะแคบและเฉพาะเจาะจงและมีความสามารถในการใช้เหตุผลและการอธิบายระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้ใช้เป็นคนตัดสินใจแทนระบบขอบเขตของปัญหาจะกว้างและซับซ้อน


4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์และแตกต่างจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลอย่างไร
- การสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเองระบบการตัดสินใจแบบกลุ่มต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเนื่องจากปัญหานั้นผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีความซับซ้อนมีผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินงานการใช้บุคคลเดียวในการตัดสินปัญหาอาจไม่สามารถทำได้อย่างรอบคอบและถูกต้องจึงต้องอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล


5 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในด้านการบริการลูกค้าได้อย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
-ใช้ในการศึกษารูปแบบการเลือกชื้อสินค้าของลูกค้าเช่นเมื่อลูกค้าชื้อคอมพิวเตอร์ ฝ่ายการตลาดก็จะใช้ข้อมูลในการวางแผนการสนับสนุนการขายสินค้า เมื่อชื้อไปแล้วจะต้องชื้ออะไรเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และจำแนกกลุ่มของลูกค้าที่มาชื้อสินค้าบ่อยๆ ประโยชน์เหล่านี้สามารถใช้ชี้นำเกี่ยวกับการกำหนดราคา การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และการเพิ่มรายได้

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : ระบบประมวลผลภาพใบสั่งของกรมการขนส่งในกรุงนิวยอร์ก

กรณีศึกษา : ระบบประมวลผลภาพใบสั่งของกรมการขนส่งในกรุงนิวยอร์ก

สถิติการออกใบสั่งเรียกค่าปรับในการฝ่าฝืนกฎจราจรของกรมการขนส่งที่เกิดขึ้นที่เมืองอัลบานีในกรุงนิวยอร์ก มีจำนวนตั้งแต่ 30,000 ใบถึง 50,000 ใบในแต่ละสัปดาห์ โดยในกรุงนิวยอร์กใบสั่งเรียกค่าปรับทั้งหมดจะถูกรวบรวมและส่งไปยังกรมการขนส่งที่สำนักงานอัลบานีผ่านทางไปรษณีย์ เพื่อนำมาประมวลผลต่อไป ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในใบสั่งจะถูกนำมาพิมพ์ใส่ในระบบเมนเฟรม โดยพนักงานของกรมฯจะต้องรวบรวมใบสั่งทั้งหมดและจัดเป็นปึก ปึกละ 50 ใบ และส่งปึกใบสั่งทั้งหมดนี้ไปยังอีกแผนกหนึ่งเพื่อโอนถ่ายลงในฟิล์มขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครฟิช ( Microfich) ต่อไป ซึ่งวิธีการดำเนินการแบบนี้นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากแล้วยังให้คุณภาพไม่ดีนัก เนื่องจากมีข้อผิดพลาดอย่างมากจากการพิมพ์ของพนักงานในขั้นตอนการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่ระบบ นอกจากนั้นการที่ผู้พิพากษาไม่สามารถรู้ข้อมูลที่บันทึกในใบสั่งในระหว่างที่ไต่สวนคดีทางจราจรยังเป็นการถ่วงประสิทธิภาพในการพิพากษาคดี ทำให้การตัดสินในใช้เวลานานเกินกว่าที่ควรจะเป็น
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางกรมฯ จึงตัดสินใจนำระบบประมวลผลภาพมาใช้ ทำให้การทำงานเดิมเปลี่ยนไป โดยในระบบนี้จะช่วยลดเวลาการออกใบสั่งลงได้ถึง 2 ใน 3 ของเวลาเดิมที่ใช้ การทำงานของระบบใหม่จะเริ่มจากขั้นแรกใบสั่งจะถูกสแกนเข้าในเครื่องแอสเซนต์ (Ascent Platform) ผ่านแอสเซนต์ แคปเจอร์ และเครื่องนี้จะแปลงรูปภาพนั้นไปอยู่ในรูปแบบที่นำกลับมาใช้งานได้ หลังจากเครื่องนั้นแอสเซนต์ก็จะป้อนไฟล์นั้นไปยังซอฟต์แวร์การจัดการเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ชื่อว่า คอนเท็นต์เมเนเจอร์ของไอบีเอ็ม (IBM Content Manager) ซึ่งซอฟต์แวร์นี้จะนำข้อมูลทั้งหมดถ่ายไปยังระบบเมนเฟรมเป็นขั้นตอนต่อไป ดังนั้นการพิมพ์ข้อมูลเข้าระบบด้วยมือและการแยกเอกสารออกเป็นปึกๆจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป เนื่องจากระบบการจัดการเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์นี้มีความแม่นยำในการทำงานสูง

คำถาม
1.ระบบการประมวลผลภาพมีผลต่อกระบวนการออกใบสั่งเรียกค่าปรับในการฝ่าฝืนกฎจราจรของกรมการขนส่งอย่างไร
- ช่วยลดเวลาและขั้นตอนในการทำงานของกรมการขนส่งลง ทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบการจัดการเอกสารมีความแม่นยำ

2.ระบบประมวลผลภาพเป็นระบบสารสนเทศประเภทใด มีลักษณะอย่างไร
- ระบบประมวลผลภาพเป็นระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารซึ่ง OIS สามารถนำมาช่วยงานในหลายๆกิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ (Electronic Messages), การบันทึกตารางนัดหมาย (Schedule Appointments) และการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ

บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

คำถาม
1.ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์กรอย่างไร
- ลดระดับขั้นตอนขององค์การ
- มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
- ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
- เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
- กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

2. องค์การเสมือนจริงมีลักษณะอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรเมื่อเทียบกับองค์การทั่วไป
- ลักษณะขององค์การเสมือนจริงมีดังนี้
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็นเลิศ
4. มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด
- ข้อดีขององค์การเสมือนจริงเมื่อเทียบกับองค์การทั่วไปคือ เป็นเครือข่ายของ องค์การ เชื่อมโยงกันด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสิค้าและบริการ โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวสถานที่ตั้งขององค์การ


3. ระบบสารสนเทศสามารถจัดเป็นประเภทใดบ้าง อธิบายและยกตัวอย่างระบบสารสนเทศในแต่ละประเภท
- ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 3 ประการคือ
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทธุรกิจ เนื่องมาจากการดำเนินงานขององค์การมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น เช่น ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศบริหารโรงแรม ระบบสารสนเทศธนาคาร ระบบสารสนเทศโรงภาพยนตร์ ระบบสารสนเทศโรงเรียน
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่งาน เป็นระบบที่จำแนกตามตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศการตลาด ระบบสารสนเทศการบัญชี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศการเงิน ระบบสารสนเทศห้องสมุด ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ ระบบสารสนเทศการผลิตและสินค้าคงคลัง
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ผู้บริหารในองค์การระดับที่แตกต่างกัน ( ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับสูง ) มีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงได้ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและการตัดสินใจ เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรม (TPS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)


4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) แตกต่างจากระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม (TPS) อย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารในงานด้านเอกสาร รายงาน จดหมาธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึกตารางนัดหมาย การค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ ส่วน ระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม (TPS) จะทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ

5. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบ TPS, OIS, MIS, DSS และ EIS

- ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : SF Cinema City นำไอทีพัฒนาระบบธุรกิจและบริการ

กรณีศึกษา : SF Cinema City นำไอทีพัฒนาระบบธุรกิจและบริการ
เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ ดำเนินธุรกิจการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาคตะวันออก และในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีก ดังนั้นผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงได้นำระบบจองตั๋วภาพยนตร์ที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถจับจองที่นั่งได้จากเว็บไซต์
http://www.sfcinemacity.com/ โดยตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเคาเตอร์ขายตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้สามารถพิมพ์ตั๋วจากบ้านด้วยบริการ Print @ home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง

คำถาม
1. ระบบไอทีที่ เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
- ในด้านของเจ้าของธุรกิจ เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการโรงภาพยนตร์ เป็นกลยุทธ์ที่สามารถมัดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้องค์การดูมีความทันสมัย ภาพลักษณ์ขององค์การดีขึ้น แม้ว่าองค์การจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลเว็บไซต์ก็ตาม แต่ในระยะยาวแล้วน่าจะส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น เพราะลูกค้ามั่นใจในบริการและหันมาใช้บริการมากขึ้น
- ในส่วนของผู้ใช้บริการ ทำให้การดูหนังเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ต้องออกจากบ้านก่อนเวลามากเพื่อไปรอคิวซื้อตั๋ว สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจองค์การมากขึ้น

2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
- มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดูแลและอัพเดทข้อมูลของเว็บไซต์ ส่วนผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือเครื่องปริ๊นจะไม่สามารถใช้บริการนี้ได้ ส่งผลให้การขยายตลาดไม่ครอบคลุมถึงชนชั้นรากหญ้า และอาจเกิดปัญหากับระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาซึ่งแก้ไขได้ช้า

3. หากจะนำระบบไอทีของ เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ มาให้บริการด้านอื่นๆจะแนะนำให้นำไอทีมาต่อยอดได้อย่างไรบ้าง
- ให้บริการจองตั๋วหนังผ่านทางโทรศัพท์
- ส่งรายละเอียดหนังใหม่ให้แก่สมาชิกโดยผ่านระบบ SMS / MMS
- ให้บริการสั่งจอง / ซื้อ สินค้าพรีเมี่ยมประกอบภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์ได้

บทที่ 5 อินเตอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คำถาม
1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไรบ้าง
-Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ Instant Messaging สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีกับทีมงานหรือโครงการต่างๆ มากกว่าผู้จำหน่ายปลีก ผู้มีอาชีพอิสระ ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ IM ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน แต่ไม่เปิดให้มีสัมพันธ์ภาพใหม่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากประโยชน์เรื่องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแล้ว การใช้เครื่องมือดังกล่าวมีความเสี่ยงและข้อเสียเช่นกัน


2. E-Commerce แตกต่างจาก E-Business อย่างไร
-E-Business จะมีความหมายกว้างกว่า โดยหมายถึง การดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business นั่นเอง


3. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
- ธุรกิจกับธุรกิจ ( Business to Business : B2B ) เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต – ผู้ผลิต ผู้ผลิต – ผู้ส่งออก ผู้ผลิต – ผู้นำเข้า และผู้ผลิต – ผู้ค้าส่ง การทำธุรกิจลักษณะนี้เป็นธุรกรรมจำนวนมาก มีมูลค่าการซื้อ - ขายสินค้าและบริการสูง
- ธุรกิจกับลูกค้า ( Business to Customer : B2C ) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคน อาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง สินค้าที่จำหน่ายอาจเป็นสินค้าที่จับต้องได้ เช่น หนังสือ เครื่องประดับ ของเล่น เป็นต้น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ เป็นต้น
- ธุรกิจกับภาครัฐ ( Business to Government : B2G ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ ( E-Auction) และการจัดซื้อ-จัดจ้าง ( E-Procurement)
- ลูกค้ากับลูกค้า ( Customer to Customer : C2C ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้าอาจทำผ่านเว็บไซต์ เช่น การประมูลสินค้า


4. อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซับพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
- เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก


5. อินเตอร์เน็ตมีผลต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
- มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย


6. ในยุคของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปแบบของซีดีรอมน่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ต แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นอย่างนั้น การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปของซีดีรอมยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
- คงเป็นความไม่มั่นใจของ File ที่ Download มาแล้วนั้นจะไม่สมบูรณ์แล้วต้องทำการ Download ใหม่ และอินเทอร์เน็ตผิดพลาดได้ง่ายเป็นการเสียเวลา จึงทำให้ส่วนใหญ่ CD-Rom ยังเป็นที่นิยมของการจำหน่าย Software ในปัจจุบันนี้

บทที่ 5 อินเตอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คำถาม
1.Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไรบ้าง
- Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ Instant Messaging สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีกับทีมงานหรือโครงการต่างๆ มากกว่าผู้จำหน่ายปลีก ผู้มีอาชีพอิสระ ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ IM ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน แต่ไม่เปิดให้มีสัมพันธ์ภาพใหม่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากประโยชน์เรื่องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแล้ว การใช้เครื่องมือดังกล่าวมีความเสี่ยงและข้อเสียเช่นกัน

2.E-Commerce แตกต่างจาก E-Business อย่างไร
- E-Business จะมีความหมายกว้างกว่า โดยหมายถึง การดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business นั่นเอง

3.จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
- ธุรกิจกับธุรกิจ ( Business to Business : B2B ) เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต – ผู้ผลิต ผู้ผลิต – ผู้ส่งออก ผู้ผลิต – ผู้นำเข้า และผู้ผลิต – ผู้ค้าส่ง การทำธุรกิจลักษณะนี้เป็นธุรกรรมจำนวนมาก มีมูลค่าการซื้อ - ขายสินค้าและบริการสูง
- ธุรกิจกับลูกค้า ( Business to Customer : B2C ) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคน อาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง สินค้าที่จำหน่ายอาจเป็นสินค้าที่จับต้องได้ เช่น หนังสือ เครื่องประดับ ของเล่น เป็นต้น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ เป็นต้น
- ธุรกิจกับภาครัฐ ( Business to Government : B2G ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ ( E-Auction) และการจัดซื้อ-จัดจ้าง ( E-Procurement)
- ลูกค้ากับลูกค้า ( Customer to Customer : C2C ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้าอาจทำผ่านเว็บไซต์ เช่น การประมูลสินค้า

4.อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซับพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง

- เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก

5.อินเตอร์เน็ตมีผลต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
- มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย

6.ในยุคของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปแบบของซีดีรอมน่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ต แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นอย่างนั้น การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปของซีดีรอมยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
- คงเป็นความไม่มั่นใจของ File ที่ Download มาแล้วนั้นจะไม่สมบูรณ์แล้วต้องทำการ Download ใหม่ และอินเทอร์เน็ตผิดพลาดได้ง่ายเป็นการเสียเวลา จึงทำให้ส่วนใหญ่ CD-Rom ยังเป็นที่นิยมของการจำหน่าย Software ในปัจจุบันนี้

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 3 คลังข้อมูลและฐานข้อมูล

บทที่ 3 คลังข้อมูลและฐานข้อมูล
คำถาม

1. จากภาพที่กำหนดให้จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1) ฐานข้อมูล (Database)
- ฐานข้อมูล (Database) คือศูนย์รวมของข้อมูลต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน (Relationship) โดยจะมีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน ก่อให้เกิดฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งรวมของข้อมูลจากแผนกต่างๆซึ่งถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบภายในข้อมูลชุดเดียว โดยผู้ใช้งานแต่ละแผนกสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางนี้เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลร่วมกันได้ และการที่มีศูนย์กลางข้อมูลเพียงแหล่งเดียว รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้งานร่วมกันได้จะช่วยแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล และที่สำคัญ ข้อมูลในฐานข้อมูลจะไม่ผูกติดกับโปรแกรม กล่าวคือ จะมีความอิสระในข้อมูล (Program-Data Independence)


2) คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน เข้าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฏิบัติการขององค์การ และฐานข้อมูลจากแหล่งภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก การกลั่นกรอง การปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ

3) ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
- ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือคลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่าสำหรับใช้ในองค์การธุรกิจ ดาต้ามาร์ทมีขนาดของข้อมูลและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ประโยชน์ที่เด่นชัดของดาต้ามาร์ทคือ ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า การจัดทำคลังข้อมูลก็ใช้เวลาสั้นกว่า และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายในหน่วยงานก็สะดวกกว่าใช้คลังข้อมูลกลางขององค์การ

4) ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining)
- ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเครื่องมือและเทคนิคในการสกัด (Extract) ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคร์ขั้นสูงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรมและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือคำตอบในลักษณะสิ่งต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง (Association) ลำดับข้อมูล (Sequence) การหากฎเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม (Classification) การจัดกลุ่มของความคล้ายคลึง (Cluster) การพยากรณ์ (Forecasting)

5) การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP)
- การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและค้นหาความรู้ในคลังข้อมูลแบบหนึ่ง ที่มีความสามารถในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โยสามารถใช้ OLAP ในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆเช่น การหมุนมิติ (Rotation) การเลือกช่วงข้อมูล (Ranging) การเลือกระดับชั้นของข้อมูล (Hierarchy)

6) จากภาพที่กำหนด A , B และ C ให้ระบุและอธิบายว่า A , B และ C หมายถึงสิ่งใด
- A คือ คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- B คือ ฐานข้อมูลระบบงานอื่นๆ ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
- C คือ เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล OLAP หรือ Data Mining



2. จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
- ข้อมูลที่อยู่ในคลังข้อมูลจะได้รับการเลือก การกลั่นกรอง การปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ



3. ธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business Intelligence คืออะไร และมีการนำไปใช้งานอย่างไร
- ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI) คือการใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆในการดำเนินการทางธุรกิจ กระบวนการหลักๆของธุรกิจอัจฉริยะคือ การสนับสนุนการตัดสินใจ การคิวรี การรายงาน การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์หรือโอแลป (OLAP) การวิเคราะห์ทางสถิติ การพยากรณ์ และการทำดาต้าไมนิ่ง ตัวอย่างระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานขององค์การ เช่น การจัดทำประวัติลูกค้า การประเมินถึงสภาพของตลาด การจัดกลุ่มของตลาด การจัดลำดับทางด้านเครดิต การเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์ การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง




4. จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานดาต้าไมนิ่งในธุรกิจอื่นๆที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง



5. จากปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและดาต้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง
- ปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้ก็คือ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การขาดความคล่องตัวและการขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถนำคลังข้อมูล (Data Warehouse) และ ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) มาช่วยในการแก้ปัญหาได้ โดยที่คลังข้อมูลจะเป็นที่เก็บข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันรวมเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะได้รับการคัดเลือก กลั่นกรอง ปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และการขาดความคล่องตัวจากปัญหาข้างต้นได้ ดาต้าไมนิ่งก็เป็นเครื่องมือและเทคนิคสกัดข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูง โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบและความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยจากปัญหาข้างต้นได้

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

คำถาม
1.ระบบสารสนเทศคืออะไรและระบบสารสนเทศมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไรบ้าง
- ระบบสารสนเทศ ( Information System ) เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสำพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวมบันทึก ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนควบคุมจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในหลายๆด้านการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศที่มีคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆรวมทั้งเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสร้างทางเลือกในการแข่งขันและเพิ่มคุณภาพชีวิต


2.ข้อมูลกับสารสนเทศและสารสนเทศกับความรู้แตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย
- ข้อมูลกับสารสนเทศแตกต่างกันตรงที่ข้อมูลคือข้อเท็จจริงต่างๆที่อาจอยู่ในรูปแบบตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปแบบ หรือเสียงก็ได้แต่สารสเทศเป็นสิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำมาใช้ในการวางแผนตัดสินใจและคาดการอนาคตได้ซึ่งอาจอยู่€ในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ และรูปภาพ
- สารสนเทศกับความรู้แตกต่างกันตรงที่คือการรับรู้และเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้


3.ส่วนประกอบของระบบสาระสนเทศทั่วๆไปมีอะไรบ้าง
- การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล ( Input )
- การประมวลผล ( Processing )เป็นการนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนควบคุมและดำเนินงานต่างๆ
- ผลลัพธ์ ( Output ) เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลผลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ


4.ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ( CBIS ) คืออะไรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
- ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ( Computer Based Information Systems : CBIS ) คือการพัฒนาและประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารมาใช้ควบคู่กับสารสนเทศกลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในปัจจุบันประกอบด้วย6ส่วนต่อไปนี้
- ซอร์ฟแวร์ ( Software )
- ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
- ข้อมูล ( Data )
- การสื่อสารและเครือข่าย ( Telecommunication )
- กระบวนการทำงาน ( Procedure )
- บุคลากร ( People )



5.จงยกตัวอย่างระบบใดๆมา 1 ระบบพร้อมทั้งจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย