วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : ระบบประมวลผลภาพใบสั่งของกรมการขนส่งในกรุงนิวยอร์ก

กรณีศึกษา : ระบบประมวลผลภาพใบสั่งของกรมการขนส่งในกรุงนิวยอร์ก

สถิติการออกใบสั่งเรียกค่าปรับในการฝ่าฝืนกฎจราจรของกรมการขนส่งที่เกิดขึ้นที่เมืองอัลบานีในกรุงนิวยอร์ก มีจำนวนตั้งแต่ 30,000 ใบถึง 50,000 ใบในแต่ละสัปดาห์ โดยในกรุงนิวยอร์กใบสั่งเรียกค่าปรับทั้งหมดจะถูกรวบรวมและส่งไปยังกรมการขนส่งที่สำนักงานอัลบานีผ่านทางไปรษณีย์ เพื่อนำมาประมวลผลต่อไป ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในใบสั่งจะถูกนำมาพิมพ์ใส่ในระบบเมนเฟรม โดยพนักงานของกรมฯจะต้องรวบรวมใบสั่งทั้งหมดและจัดเป็นปึก ปึกละ 50 ใบ และส่งปึกใบสั่งทั้งหมดนี้ไปยังอีกแผนกหนึ่งเพื่อโอนถ่ายลงในฟิล์มขนาดเล็กที่เรียกว่า ไมโครฟิช ( Microfich) ต่อไป ซึ่งวิธีการดำเนินการแบบนี้นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากแล้วยังให้คุณภาพไม่ดีนัก เนื่องจากมีข้อผิดพลาดอย่างมากจากการพิมพ์ของพนักงานในขั้นตอนการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่ระบบ นอกจากนั้นการที่ผู้พิพากษาไม่สามารถรู้ข้อมูลที่บันทึกในใบสั่งในระหว่างที่ไต่สวนคดีทางจราจรยังเป็นการถ่วงประสิทธิภาพในการพิพากษาคดี ทำให้การตัดสินในใช้เวลานานเกินกว่าที่ควรจะเป็น
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางกรมฯ จึงตัดสินใจนำระบบประมวลผลภาพมาใช้ ทำให้การทำงานเดิมเปลี่ยนไป โดยในระบบนี้จะช่วยลดเวลาการออกใบสั่งลงได้ถึง 2 ใน 3 ของเวลาเดิมที่ใช้ การทำงานของระบบใหม่จะเริ่มจากขั้นแรกใบสั่งจะถูกสแกนเข้าในเครื่องแอสเซนต์ (Ascent Platform) ผ่านแอสเซนต์ แคปเจอร์ และเครื่องนี้จะแปลงรูปภาพนั้นไปอยู่ในรูปแบบที่นำกลับมาใช้งานได้ หลังจากเครื่องนั้นแอสเซนต์ก็จะป้อนไฟล์นั้นไปยังซอฟต์แวร์การจัดการเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ชื่อว่า คอนเท็นต์เมเนเจอร์ของไอบีเอ็ม (IBM Content Manager) ซึ่งซอฟต์แวร์นี้จะนำข้อมูลทั้งหมดถ่ายไปยังระบบเมนเฟรมเป็นขั้นตอนต่อไป ดังนั้นการพิมพ์ข้อมูลเข้าระบบด้วยมือและการแยกเอกสารออกเป็นปึกๆจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป เนื่องจากระบบการจัดการเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์นี้มีความแม่นยำในการทำงานสูง

คำถาม
1.ระบบการประมวลผลภาพมีผลต่อกระบวนการออกใบสั่งเรียกค่าปรับในการฝ่าฝืนกฎจราจรของกรมการขนส่งอย่างไร
- ช่วยลดเวลาและขั้นตอนในการทำงานของกรมการขนส่งลง ทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบการจัดการเอกสารมีความแม่นยำ

2.ระบบประมวลผลภาพเป็นระบบสารสนเทศประเภทใด มีลักษณะอย่างไร
- ระบบประมวลผลภาพเป็นระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารซึ่ง OIS สามารถนำมาช่วยงานในหลายๆกิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ (Electronic Messages), การบันทึกตารางนัดหมาย (Schedule Appointments) และการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ

บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

บทที่ 6 บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

คำถาม
1.ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์กรอย่างไร
- ลดระดับขั้นตอนขององค์การ
- มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
- ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
- เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
- กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่

2. องค์การเสมือนจริงมีลักษณะอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรเมื่อเทียบกับองค์การทั่วไป
- ลักษณะขององค์การเสมือนจริงมีดังนี้
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
3. มีความเป็นเลิศ
4. มีความไว้วางใจ
5. มีโอกาสทางตลาด
- ข้อดีขององค์การเสมือนจริงเมื่อเทียบกับองค์การทั่วไปคือ เป็นเครือข่ายของ องค์การ เชื่อมโยงกันด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะ ลดต้นทุน สร้างและกระจายสิค้าและบริการ โดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวสถานที่ตั้งขององค์การ


3. ระบบสารสนเทศสามารถจัดเป็นประเภทใดบ้าง อธิบายและยกตัวอย่างระบบสารสนเทศในแต่ละประเภท
- ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 3 ประการคือ
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทธุรกิจ เนื่องมาจากการดำเนินงานขององค์การมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ระบบสารสนเทศจึงต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น เช่น ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศบริหารโรงแรม ระบบสารสนเทศธนาคาร ระบบสารสนเทศโรงภาพยนตร์ ระบบสารสนเทศโรงเรียน
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่งาน เป็นระบบที่จำแนกตามตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศการตลาด ระบบสารสนเทศการบัญชี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศการเงิน ระบบสารสนเทศห้องสมุด ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ ระบบสารสนเทศการผลิตและสินค้าคงคลัง
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน ผู้บริหารในองค์การระดับที่แตกต่างกัน ( ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับสูง ) มีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศจึงได้ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและการตัดสินใจ เช่น ระบบประมวลผลธุรกรรม (TPS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS) ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)


4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) แตกต่างจากระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม (TPS) อย่างไร
- ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารในงานด้านเอกสาร รายงาน จดหมาธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึกตารางนัดหมาย การค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ ส่วน ระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม (TPS) จะทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ

5. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบ TPS, OIS, MIS, DSS และ EIS

- ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : SF Cinema City นำไอทีพัฒนาระบบธุรกิจและบริการ

กรณีศึกษา : SF Cinema City นำไอทีพัฒนาระบบธุรกิจและบริการ
เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ ดำเนินธุรกิจการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ในภาคตะวันออก และในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีก ดังนั้นผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงได้นำระบบจองตั๋วภาพยนตร์ที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถจับจองที่นั่งได้จากเว็บไซต์
http://www.sfcinemacity.com/ โดยตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเคาเตอร์ขายตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้สามารถพิมพ์ตั๋วจากบ้านด้วยบริการ Print @ home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง

คำถาม
1. ระบบไอทีที่ เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
- ในด้านของเจ้าของธุรกิจ เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการโรงภาพยนตร์ เป็นกลยุทธ์ที่สามารถมัดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทำให้องค์การดูมีความทันสมัย ภาพลักษณ์ขององค์การดีขึ้น แม้ว่าองค์การจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลเว็บไซต์ก็ตาม แต่ในระยะยาวแล้วน่าจะส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น เพราะลูกค้ามั่นใจในบริการและหันมาใช้บริการมากขึ้น
- ในส่วนของผู้ใช้บริการ ทำให้การดูหนังเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ต้องออกจากบ้านก่อนเวลามากเพื่อไปรอคิวซื้อตั๋ว สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจองค์การมากขึ้น

2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
- มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดูแลและอัพเดทข้อมูลของเว็บไซต์ ส่วนผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือเครื่องปริ๊นจะไม่สามารถใช้บริการนี้ได้ ส่งผลให้การขยายตลาดไม่ครอบคลุมถึงชนชั้นรากหญ้า และอาจเกิดปัญหากับระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาซึ่งแก้ไขได้ช้า

3. หากจะนำระบบไอทีของ เอส เอฟ ซินีม่า ซิตี้ มาให้บริการด้านอื่นๆจะแนะนำให้นำไอทีมาต่อยอดได้อย่างไรบ้าง
- ให้บริการจองตั๋วหนังผ่านทางโทรศัพท์
- ส่งรายละเอียดหนังใหม่ให้แก่สมาชิกโดยผ่านระบบ SMS / MMS
- ให้บริการสั่งจอง / ซื้อ สินค้าพรีเมี่ยมประกอบภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์ได้

บทที่ 5 อินเตอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คำถาม
1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไรบ้าง
-Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ Instant Messaging สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีกับทีมงานหรือโครงการต่างๆ มากกว่าผู้จำหน่ายปลีก ผู้มีอาชีพอิสระ ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ IM ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน แต่ไม่เปิดให้มีสัมพันธ์ภาพใหม่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากประโยชน์เรื่องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแล้ว การใช้เครื่องมือดังกล่าวมีความเสี่ยงและข้อเสียเช่นกัน


2. E-Commerce แตกต่างจาก E-Business อย่างไร
-E-Business จะมีความหมายกว้างกว่า โดยหมายถึง การดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business นั่นเอง


3. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
- ธุรกิจกับธุรกิจ ( Business to Business : B2B ) เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต – ผู้ผลิต ผู้ผลิต – ผู้ส่งออก ผู้ผลิต – ผู้นำเข้า และผู้ผลิต – ผู้ค้าส่ง การทำธุรกิจลักษณะนี้เป็นธุรกรรมจำนวนมาก มีมูลค่าการซื้อ - ขายสินค้าและบริการสูง
- ธุรกิจกับลูกค้า ( Business to Customer : B2C ) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคน อาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง สินค้าที่จำหน่ายอาจเป็นสินค้าที่จับต้องได้ เช่น หนังสือ เครื่องประดับ ของเล่น เป็นต้น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ เป็นต้น
- ธุรกิจกับภาครัฐ ( Business to Government : B2G ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ ( E-Auction) และการจัดซื้อ-จัดจ้าง ( E-Procurement)
- ลูกค้ากับลูกค้า ( Customer to Customer : C2C ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้าอาจทำผ่านเว็บไซต์ เช่น การประมูลสินค้า


4. อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซับพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
- เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก


5. อินเตอร์เน็ตมีผลต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
- มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย


6. ในยุคของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปแบบของซีดีรอมน่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ต แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นอย่างนั้น การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปของซีดีรอมยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
- คงเป็นความไม่มั่นใจของ File ที่ Download มาแล้วนั้นจะไม่สมบูรณ์แล้วต้องทำการ Download ใหม่ และอินเทอร์เน็ตผิดพลาดได้ง่ายเป็นการเสียเวลา จึงทำให้ส่วนใหญ่ CD-Rom ยังเป็นที่นิยมของการจำหน่าย Software ในปัจจุบันนี้

บทที่ 5 อินเตอร์เน็ต และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

คำถาม
1.Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไรบ้าง
- Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ Instant Messaging สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีกับทีมงานหรือโครงการต่างๆ มากกว่าผู้จำหน่ายปลีก ผู้มีอาชีพอิสระ ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ IM ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน แต่ไม่เปิดให้มีสัมพันธ์ภาพใหม่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากประโยชน์เรื่องการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายแล้ว การใช้เครื่องมือดังกล่าวมีความเสี่ยงและข้อเสียเช่นกัน

2.E-Commerce แตกต่างจาก E-Business อย่างไร
- E-Business จะมีความหมายกว้างกว่า โดยหมายถึง การดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business นั่นเอง

3.จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
- ธุรกิจกับธุรกิจ ( Business to Business : B2B ) เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต – ผู้ผลิต ผู้ผลิต – ผู้ส่งออก ผู้ผลิต – ผู้นำเข้า และผู้ผลิต – ผู้ค้าส่ง การทำธุรกิจลักษณะนี้เป็นธุรกรรมจำนวนมาก มีมูลค่าการซื้อ - ขายสินค้าและบริการสูง
- ธุรกิจกับลูกค้า ( Business to Customer : B2C ) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคน อาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง สินค้าที่จำหน่ายอาจเป็นสินค้าที่จับต้องได้ เช่น หนังสือ เครื่องประดับ ของเล่น เป็นต้น หรือจะเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น เพลง ซอฟต์แวร์ เป็นต้น
- ธุรกิจกับภาครัฐ ( Business to Government : B2G ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ ( E-Auction) และการจัดซื้อ-จัดจ้าง ( E-Procurement)
- ลูกค้ากับลูกค้า ( Customer to Customer : C2C ) เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่าผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้าอาจทำผ่านเว็บไซต์ เช่น การประมูลสินค้า

4.อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซับพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง

- เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก

5.อินเตอร์เน็ตมีผลต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
- มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย

6.ในยุคของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปแบบของซีดีรอมน่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ต แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นอย่างนั้น การจำหน่ายซอฟต์แวร์ในรูปของซีดีรอมยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
- คงเป็นความไม่มั่นใจของ File ที่ Download มาแล้วนั้นจะไม่สมบูรณ์แล้วต้องทำการ Download ใหม่ และอินเทอร์เน็ตผิดพลาดได้ง่ายเป็นการเสียเวลา จึงทำให้ส่วนใหญ่ CD-Rom ยังเป็นที่นิยมของการจำหน่าย Software ในปัจจุบันนี้

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 3 คลังข้อมูลและฐานข้อมูล

บทที่ 3 คลังข้อมูลและฐานข้อมูล
คำถาม

1. จากภาพที่กำหนดให้จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1) ฐานข้อมูล (Database)
- ฐานข้อมูล (Database) คือศูนย์รวมของข้อมูลต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน (Relationship) โดยจะมีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน ก่อให้เกิดฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งรวมของข้อมูลจากแผนกต่างๆซึ่งถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบภายในข้อมูลชุดเดียว โดยผู้ใช้งานแต่ละแผนกสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางนี้เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลร่วมกันได้ และการที่มีศูนย์กลางข้อมูลเพียงแหล่งเดียว รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้งานร่วมกันได้จะช่วยแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล และที่สำคัญ ข้อมูลในฐานข้อมูลจะไม่ผูกติดกับโปรแกรม กล่าวคือ จะมีความอิสระในข้อมูล (Program-Data Independence)


2) คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน เข้าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฏิบัติการขององค์การ และฐานข้อมูลจากแหล่งภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก การกลั่นกรอง การปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ

3) ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
- ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือคลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่าสำหรับใช้ในองค์การธุรกิจ ดาต้ามาร์ทมีขนาดของข้อมูลและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ประโยชน์ที่เด่นชัดของดาต้ามาร์ทคือ ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า การจัดทำคลังข้อมูลก็ใช้เวลาสั้นกว่า และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายในหน่วยงานก็สะดวกกว่าใช้คลังข้อมูลกลางขององค์การ

4) ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining)
- ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเครื่องมือและเทคนิคในการสกัด (Extract) ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคร์ขั้นสูงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรมและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือคำตอบในลักษณะสิ่งต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง (Association) ลำดับข้อมูล (Sequence) การหากฎเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม (Classification) การจัดกลุ่มของความคล้ายคลึง (Cluster) การพยากรณ์ (Forecasting)

5) การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP)
- การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและค้นหาความรู้ในคลังข้อมูลแบบหนึ่ง ที่มีความสามารถในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โยสามารถใช้ OLAP ในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆเช่น การหมุนมิติ (Rotation) การเลือกช่วงข้อมูล (Ranging) การเลือกระดับชั้นของข้อมูล (Hierarchy)

6) จากภาพที่กำหนด A , B และ C ให้ระบุและอธิบายว่า A , B และ C หมายถึงสิ่งใด
- A คือ คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- B คือ ฐานข้อมูลระบบงานอื่นๆ ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
- C คือ เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล OLAP หรือ Data Mining



2. จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
- ข้อมูลที่อยู่ในคลังข้อมูลจะได้รับการเลือก การกลั่นกรอง การปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ



3. ธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business Intelligence คืออะไร และมีการนำไปใช้งานอย่างไร
- ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI) คือการใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆในการดำเนินการทางธุรกิจ กระบวนการหลักๆของธุรกิจอัจฉริยะคือ การสนับสนุนการตัดสินใจ การคิวรี การรายงาน การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์หรือโอแลป (OLAP) การวิเคราะห์ทางสถิติ การพยากรณ์ และการทำดาต้าไมนิ่ง ตัวอย่างระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานขององค์การ เช่น การจัดทำประวัติลูกค้า การประเมินถึงสภาพของตลาด การจัดกลุ่มของตลาด การจัดลำดับทางด้านเครดิต การเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์ การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง




4. จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานดาต้าไมนิ่งในธุรกิจอื่นๆที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง



5. จากปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและดาต้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง
- ปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้ก็คือ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การขาดความคล่องตัวและการขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถนำคลังข้อมูล (Data Warehouse) และ ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) มาช่วยในการแก้ปัญหาได้ โดยที่คลังข้อมูลจะเป็นที่เก็บข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันรวมเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะได้รับการคัดเลือก กลั่นกรอง ปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และการขาดความคล่องตัวจากปัญหาข้างต้นได้ ดาต้าไมนิ่งก็เป็นเครื่องมือและเทคนิคสกัดข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูง โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบและความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยจากปัญหาข้างต้นได้

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

คำถาม
1.ระบบสารสนเทศคืออะไรและระบบสารสนเทศมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไรบ้าง
- ระบบสารสนเทศ ( Information System ) เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสำพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวมบันทึก ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนควบคุมจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในหลายๆด้านการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศที่มีคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆรวมทั้งเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสร้างทางเลือกในการแข่งขันและเพิ่มคุณภาพชีวิต


2.ข้อมูลกับสารสนเทศและสารสนเทศกับความรู้แตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย
- ข้อมูลกับสารสนเทศแตกต่างกันตรงที่ข้อมูลคือข้อเท็จจริงต่างๆที่อาจอยู่ในรูปแบบตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปแบบ หรือเสียงก็ได้แต่สารสเทศเป็นสิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำมาใช้ในการวางแผนตัดสินใจและคาดการอนาคตได้ซึ่งอาจอยู่€ในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ และรูปภาพ
- สารสนเทศกับความรู้แตกต่างกันตรงที่คือการรับรู้และเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้


3.ส่วนประกอบของระบบสาระสนเทศทั่วๆไปมีอะไรบ้าง
- การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล ( Input )
- การประมวลผล ( Processing )เป็นการนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนควบคุมและดำเนินงานต่างๆ
- ผลลัพธ์ ( Output ) เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลผลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ


4.ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ( CBIS ) คืออะไรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
- ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ( Computer Based Information Systems : CBIS ) คือการพัฒนาและประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารมาใช้ควบคู่กับสารสนเทศกลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในปัจจุบันประกอบด้วย6ส่วนต่อไปนี้
- ซอร์ฟแวร์ ( Software )
- ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
- ข้อมูล ( Data )
- การสื่อสารและเครือข่าย ( Telecommunication )
- กระบวนการทำงาน ( Procedure )
- บุคลากร ( People )



5.จงยกตัวอย่างระบบใดๆมา 1 ระบบพร้อมทั้งจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย