วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย(Aircraft Surveillance System)

กรณีศึกษา : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย(Aircraft Surveillance System)

วิทยุการบินแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจหลักในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ และหนึ่งในภารกิจหลักคือ การให้บริการจราจรทางอากาศบริเวรสนามบินทุกแห่งของประเทศ รวมถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่กำลังจะเปิดใช้งานในอนาคต ซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ในประเทศไทยที่มีขนาดกว้างใหญ่และมีเทคโนโลยีที่เพียบพร้อมและทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการใช้บริการของผู้โดยสารเพื่อเป็นการรองรับอากาศยานจำนวนมากในอนาคต วิทยุการบินฯ จึงวางแผนและดำเนินการเพื่อให้มีการบริการของเที่ยวบินต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดความล่าช้า (Deley)ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่สายการบินนานาชาติในส่วนของการบริหารภาคพื้น ซึ่งจะต้องอาศัยระบบติดตามอากาศยานที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบนี้สามารถติดตามอากาศยานได้ตลอดเวลาด้วยข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

วิทยุการบินฯจึงได้นำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีล่าสุดมาใช้สำหรับการบริหารและจัดการอากาศยาน รวมถึงยานพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ซึ่งระบบเป็นแบบบูรณาการ(System Integration)เพื่อให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Intelligence Ariport โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงโดยระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลและสร้างฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติ จึงสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุ การล่าช้าของอากาศยาน รวมถึงลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

การทำงานของระบบอุปกรณ์ ประกอบด้วย

๐ ระบบเรดาร์ปฐมภูมิ(Primary Surveillance Radar System : PSR )สำหรับการติดตามเป้าอากาศยานระยะภายในรัศมี 80 และ 250 ไมล์ทะเลจากสนามบินตามลำดับ

๐ ระบบเรดาร์ติดตามเป้าหมายบริเวณภาคพื้นสนามบิน (Advance Surface Movement Radar System)สำหรับติดตามเป้าอากาศยานและยานพาหนะที่เคลื่อนที่อยู่บริเวณโดยรอบสนามบินและบนสนามบิน

๐ ระบบควบคุมการสื่อสาร (Voice Communication Control System)สำหรับควบคุมระบบวิทยุสื่อสารที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ควบคุมจราจรทางอากาศกับนักบิน

๐ ระบบะประมวลผลข้อมูลเรดาร์ (Radar Data Processing System)สำหรับการประมวลผลข้อมูลเรดาร์จากเรดาร์หลายๆสถานี เพื่อระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆรวมถึงการมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรในอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น

๐ระบบประมวลผลข้อมูลการบิน(Fight Data Processing System)ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลการบินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในการควบคุมจราจรทางอากาศ

๐ ระบบแสดงผลข้อมูล(Contronller Working Position)สำหรับแสดงตำแหน่และชื่อเรียกของอากาศยาน รวมถึงข้อมูลการบินที่ได้รับการประมวลผลจากระบบประมวลผลของข้อมูลการบิน

นอกจากนั้นระบบติดตามอากาศยานยังได้ทำการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าสนามบิน(Airfield Lighting System)และระบบสารสนเทศสนามบิน(Airport Information System : AIMS)ของบริษัทท่าอากาศยานไทย เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติอีกทั้งยังมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน(Emergency Tower)เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชะงัก



คำถาม

1. วิธีการพัฒนาระบบสาระสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภาระกิจหลักของวิทยุการบินฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว

ตอบ:
๐ การพัฒนาแบบดั้งเดิม(Tradititional SDLC Methodology)
เนื่องจากท่าอากาศยานในปัจจุบันยังไม่ได้รับความเป็นสากลมากนักจึงควรใช้ระบบการพัฒนาแบบดั้งเดิม
เพราะการพัฒนาแบบดั้งเดิมเป็นระบบของการควบคุมจราจรทางอากาศของไทยมีความจำเป็นต้องให้ระบบสอดคล้องกับที่ทั่วโลกใช้อยู่ โดยผู้ใช้บริการท่าอากาศยานของไทยมีมาจากหลากหลายประเทศซึ่งข้อมูลจะต้องให้สอดคล้องกันและตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้ ดั้งนั้นต้องมีการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน การพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมนี้สามารถกำหนดความต้องการไว้ อย่างละเอียดและมีรูปแบบชัดเจน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบที่มีการใช้เทคนิคซับซ้อนที่มีการกำหนดคุณลักษณะ ต่างๆ ไว้คงที่ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความต้องการอย่างมีแบบแผนเป็นทางการ และมีการควบคุมกระบวนในการสร้างระบบอย่างเข้มงวดรัดกุม

2. ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้หรือไม่จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ:
๐ การนำระบบอุปกรณ์ติดตามอากาศยานมาใช้สำหรับการบริหารและจัดการท่าอากาศยานรวมถึงพาหนะในบริเวณท่าอากาศยาน ทางวิ่ง ทางขับ และลานจอด โดยการนำเอาข้อดีของระบบต่างๆซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์การใช้งานที่แตกต่างกันมาเชื่อมโยงกัน โดยมีระบบคอมพิวเตอร์มาประมวลผลข้อมูลและสร้างฟังก์ชั่นการทำงานที่เพิ่มขึ้นและทำงานอย่างอัตโนมัติและสามารถใช้ศักยภาพของสนามบินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุบัติเหตุและการล่าช้าของอากาศยาน และมีผลกระทบทางด้านที่ดีต่อเจ้าหน้าที่คือช่วยลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศได้

๐ ตัวอย่าง: ระบบควบคุมการสื่อสาร(Voice Communication Contron System)ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศกับนักบินดีขึ้น

๐ ตังอย่าง: ระบบประมวลผลข้อมูลเรดาร์(Radar Data Processing System)ช่วยระบุตำแหน่งและชื่อของอากาศยานนั้นๆรวมถึงมีระบบแจ้งเตือนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมจราจรทางอากาศในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: