วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 3 คลังข้อมูลและฐานข้อมูล

บทที่ 3 คลังข้อมูลและฐานข้อมูล
คำถาม

1. จากภาพที่กำหนดให้จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1) ฐานข้อมูล (Database)
- ฐานข้อมูล (Database) คือศูนย์รวมของข้อมูลต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน (Relationship) โดยจะมีกระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมีระเบียบแบบแผน ก่อให้เกิดฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งรวมของข้อมูลจากแผนกต่างๆซึ่งถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบภายในข้อมูลชุดเดียว โดยผู้ใช้งานแต่ละแผนกสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางนี้เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลร่วมกันได้ และการที่มีศูนย์กลางข้อมูลเพียงแหล่งเดียว รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้งานร่วมกันได้จะช่วยแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล และที่สำคัญ ข้อมูลในฐานข้อมูลจะไม่ผูกติดกับโปรแกรม กล่าวคือ จะมีความอิสระในข้อมูล (Program-Data Independence)


2) คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน เข้าเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฏิบัติการขององค์การ และฐานข้อมูลจากแหล่งภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก การกลั่นกรอง การปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ

3) ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
- ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือคลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่าสำหรับใช้ในองค์การธุรกิจ ดาต้ามาร์ทมีขนาดของข้อมูลและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ประโยชน์ที่เด่นชัดของดาต้ามาร์ทคือ ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า การจัดทำคลังข้อมูลก็ใช้เวลาสั้นกว่า และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายในหน่วยงานก็สะดวกกว่าใช้คลังข้อมูลกลางขององค์การ

4) ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining)
- ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเครื่องมือและเทคนิคในการสกัด (Extract) ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคร์ขั้นสูงจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรมและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือคำตอบในลักษณะสิ่งต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง (Association) ลำดับข้อมูล (Sequence) การหากฎเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม (Classification) การจัดกลุ่มของความคล้ายคลึง (Cluster) การพยากรณ์ (Forecasting)

5) การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP)
- การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลและค้นหาความรู้ในคลังข้อมูลแบบหนึ่ง ที่มีความสามารถในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โยสามารถใช้ OLAP ในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆเช่น การหมุนมิติ (Rotation) การเลือกช่วงข้อมูล (Ranging) การเลือกระดับชั้นของข้อมูล (Hierarchy)

6) จากภาพที่กำหนด A , B และ C ให้ระบุและอธิบายว่า A , B และ C หมายถึงสิ่งใด
- A คือ คลังข้อมูล (Data Warehouse)
- B คือ ฐานข้อมูลระบบงานอื่นๆ ดาต้ามาร์ท (Data Mart)
- C คือ เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล OLAP หรือ Data Mining



2. จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
- ข้อมูลที่อยู่ในคลังข้อมูลจะได้รับการเลือก การกลั่นกรอง การปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับการสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ



3. ธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business Intelligence คืออะไร และมีการนำไปใช้งานอย่างไร
- ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI) คือการใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆในการดำเนินการทางธุรกิจ กระบวนการหลักๆของธุรกิจอัจฉริยะคือ การสนับสนุนการตัดสินใจ การคิวรี การรายงาน การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์หรือโอแลป (OLAP) การวิเคราะห์ทางสถิติ การพยากรณ์ และการทำดาต้าไมนิ่ง ตัวอย่างระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานขององค์การ เช่น การจัดทำประวัติลูกค้า การประเมินถึงสภาพของตลาด การจัดกลุ่มของตลาด การจัดลำดับทางด้านเครดิต การเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของผลิตภัณฑ์ การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง




4. จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานดาต้าไมนิ่งในธุรกิจอื่นๆที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง



5. จากปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและดาต้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง
- ปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวมาในตอนต้นของบทนี้ก็คือ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การขาดความคล่องตัวและการขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถนำคลังข้อมูล (Data Warehouse) และ ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) มาช่วยในการแก้ปัญหาได้ โดยที่คลังข้อมูลจะเป็นที่เก็บข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันรวมเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะได้รับการคัดเลือก กลั่นกรอง ปรับแก้ไข และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว และมีข้อมูลที่พร้อมจะนำมาประมวลผลสำหรับสนับสนุนการบริหารและตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และการขาดความคล่องตัวจากปัญหาข้างต้นได้ ดาต้าไมนิ่งก็เป็นเครื่องมือและเทคนิคสกัดข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ขั้นสูง โดยสามารถค้นหารูปแบบ แนวโน้ม พฤติกรรมที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบและความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยจากปัญหาข้างต้นได้

ไม่มีความคิดเห็น: